JA Cpanel
  •  

DooHealthy

RSSเว็บไซต์นี้ให้ข้อมูลความรู้และคำปรึกษาปัญหาสุขภาพต่างๆ เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง

โรคคอตีบ

โรคคอตีบอาการ เริ่มจากมีไข้ ไข้ต่ำๆ มีอาการคล้ายหวัด เจ็บในหลอดคอ คอบวมแดง มีอาการไอเสียงก้องลักษณะ

 

เฉพาะคือ ในลำคอมีแผ่นเนื้อเยื่อสีเทาหรือสีขาวติดแน่นอยู่บริเวณทอนซิล และบริเวณลิ้นไก่ แผ่นเยื่อนี้เกิดจากพิษที่ออกมา ทำให้มีการทำลายเนื้อเยื่อ เกิดเป็นแผ่นเยื่อ ติดแน่นกับเยื่อบุในลำคอ ตำแหน่งที่จะพบมีการอักเสบและมีแผ่นเยื่อได้ คือ

  • ในจมูก ทำให้มีน้ำมูกปนเลือดเรื้อรัง มีกลิ่นเหม็น แต่ไม่ถึงกับเสียชีวิต
  • ในลำคอ และที่ทอนซิล ซึ่งแผ่นเยื่ออาจจะเลยลงไปในหลอดคอ จะทำให้ทางเดินหายใจตีบตัน หายใจลำบาก ถึงเสียชีวิตได้
  • ตำแหน่งอื่นๆ ได้แก่ ที่ผิวหนัง เยื่อบุตา ในช่องหู

บริเวณโดยรอบเยื่อสีเทา จะมีลักษณะบวมแดง ผู้ป่วยกลืนอาหารลำบาก หายใจลำบาก หอบ หน้าเขียว ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย น้ำมูกไหล

สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกที่ชื่อว่า โคไรนีแบค ทีเรียม ดิพทีเรีย ที่สร้างพิษออกมาทำลายเซลล์ของคน เชื้อนี้มีทั้งสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดพิษและไม่ทำให้เกิดพิษ ในรายที่รุนแรงจะมีการตีบตันของทางเดินหายใจ จึงได้ชื่อว่า โรคคอตีบ และทำให้มีอันตรายต่อกล้ามเนื้อหัวใจ และเส้นประสาทส่วนปลายด้วย ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้

ระยะฟักตัวของโรคอยู่ระหว่าง 2-5 วัน อาจจะนานกว่านี้ได้ เชื้อจะอยู่ในลำคอของผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาได้ประมาณ 2 สัปดาห์ แต่บางครั้งอาจนานถึงหลายเดือนได้ ผู้ที่ได้รับการรักษาเต็มที่เชื้อจะหมดไปภายใน 1 สัปดาห์ ปัจจุบันพบโรคนี้ได้น้อยลง เนื่องจากมีการฉีดวัคซีนป้องกันในเด็กแล้ว แต่เด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนให้ครบชุดก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้

โรคแทรกซ้อน ได้แก่

  • ทางเดินหายใจตีบตัน
  • กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
  • ปลายประสาทอักเสบ ทำให้มีอัมพาตของกล้ามเนื้อ

การรักษา เมื่อพบผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคคอตีบ ต้องรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะและยาแอนติท็อกซินทันทีก่อนที่ผลการเพาะเชื้อจะออกมา เพื่อป้องกันไม่ให้พิษไปเกิดอันตรายต่อกล้ามเนื้อหัวใจ และให้ยาจนครบแม้ว่าผลเพาะเชื้อจะออกมาว่าไม่ใช่เชื้อนี้ก็ตาม นอกจากนี้ยังอาจต้องให้ยาละลายและขับเสมหะ บางรายอาจต้องใส่ท่อช่วยหายใจ ผลการรักษาจะได้ผลหรือไม่ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เป็นมาก่อนได้รับการรักษา

สำหรับเด็กที่มีโรคแทรกซ้อนจากการอุดกั้นของทางเดินหายใจ จะต้องได้รับการเจาะคอเพื่อช่วยให้หายใจได้ ส่วนโรคแทรกซ้อนทางหัวใจและทางเส้นประสาท ให้การรักษาประคับประคองตามอาการโรค

เด็กที่เป็นโรคคอตีบจะต้องพักเต็มที่อย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนทางหัวใจ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นปลายสัปดาห์ที่ 2

ดังนั้นผู้สัมผัสโรคที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคจะติดเชื้อได้ง่าย จึงควรได้รับการติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิด โดยทำการเพาะเชื้อจากลำคอ และติดตามดูอาการ 7 วัน

กาป้องกัน ในเด็กทุกคนจะได้รับวัคซีนคอตีบตั้งแต่ 2-3 เดือนหลังคลอด ในรูปแบบวัคซีนรวม (คอตีบ-ไอกรน-บาดทะยัก) อีก 2 เดือน ฉีดอีก 1 เข็ม และต่อมาอีก 2 เดือน ฉีดอีก 1 เข็ม และฉีคอีกครั้งเมื่ออายุ 1 ปี ครึ่งจึงครบชุด สามารถคุ้มกันโรคได้นาน

Julius

นาฬิกาดีไซน์ความหลากหลายให้เข้ากับสไตล์ของคุณ More...

G-SHOCK

ต้นแบบเฉพาะตัวกับตัวเครื่องคุณภาพความทนทาน More...

Edifice

Edifice นาฬิกาลูกผู้ชาย ทรงอิทธิพลด้วยดีไซน์ที่เร้าใจ More...

Consultant



↑ เพิ่มเพื่อนจากทาง Line เพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพต่างๆ ได้ที่นี่...

Latest Posts

Map