JA Cpanel
  •  

DooHealthy

RSSเว็บไซต์นี้ให้ข้อมูลความรู้และคำปรึกษาปัญหาสุขภาพต่างๆ เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง

เมลาโทนิน (Melatonin)

เมลาโทนิน (Melatonin)ฮอร์โมนที่มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระนี้ ผลิตโดยต่อมไพเนียล ในสมองขณะที่เรานอนหลับพักผ่อน

 

มีหน้าที่ช่วยในการรักษาจังหวะเวลาชีวิตให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ด้วยหน้าที่หลักของมันคือการควบคุมนาฬิกาชีวิตภายในร่างกายของเรา (วงจรการนอนหลับและการตื่น) ผมจึงพบว่า มันได้ผลมากในการรักษาอาการเจ็ตแล็ก (อาการนอนไม่หลับเมื่อต้องเดินทางเปลี่ยนสถานที่ซึ่งอยู่ต่างเขตเวลากัน) และอาการนอนไม่หลับ เมื่อเราอายุมากขึ้น ระดับของเมลาโทนินจะลดลง การรับประทานเมลาโทนินเสริมอาจช่วยชะลอกระบวนการชรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการป้องกันเซลล์สมองจากการทำลายโดยปฏิกิริยาออกซิเดชัน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ รวมถึงโรคอัลไซเมอร์ เมลาโทนินยังช่วยลดอาการปวดศีรษะคลัสเตอร์ และช่วยเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน โดยการกระตุ้นเซลล์ที่ทำหน้าที่ต้านเซลล์มะเร็ง จึงช่วยหยุดการแพร่กระจายของมะเร็งได้

คำแนะนำสำหรับการรับประทานเป็นอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร:

เมลาโทนินพบในอาหารเช่นมะเขือเทศ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงได้รับการวางจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ไม่ใช่ยา แม้ว่าแท้จริงแล้วมันจะเป็นฮอร์โมนก็ตาม คำแนะนำของผมสำหรับการรับประทานเพื่อป้องกันอาการเจ็ตแล็กคือ 1-3 มก. (ในรูปที่ใช้อมใต้ลิ้น) ปล่อยให้ละลายใต้ลิ้นครึ่งชั่วโมง ก่อนเวลาที่คุณต้องการจะนอนในสถานที่ที่คุณเดินทางไป หากคุณรับประทานในรูปอัดเม็ดหรือแคปซูล ซึ่งทำงานได้ไม่เร็วนัก ผมแนะนำให้รับประทาน 1-3 มก. หนึ่งชั่วโมงครึ่งก่อนเวลาที่คุณต้องการจะนอน สำหรับอาการนอนไม่หลับ แนะนำขนาด 1-5 มก. ก่อนเข้านอน (เริ่มที่ 1 มก. และค่อยๆ เพิ่มหากจำเป็น ไม่ควรเกินกว่า 5 มก.) ในการรับประทานเพื่อชะลอความชรา ผมแนะนำ 0.5-1 มก. (ในรูปที่ใช้อมใต้ลิ้น) ก่อนเข้านอน

เคล็ดลับ: หากคุณติดนิสัยชอบหาอะไรรองท้องก่อนนอน กล้วยก็เป็นทางเลือกที่ดี เพราะมันช่วยเพิ่มการสร้างเมลาโทนินในร่างกายได้

ยาบางตัว รวมถึงยาแก้ปวดในกลุ่ม NSAIDS ซึ่งมีขายทั่วไป มีผลลดการสร้างเมลาโทนินของสมอง แอสไพรินขนาดมาตรฐานเพียงหนึ่งเม็ด สามารถลดการสร้างเมลาโทนินลงได้มากถึงร้อยละ 75 หากคุณรับประทานยาเหล่านี้ พยายามรับประทานยามื้อสุดท้ายหลังอาหารมื้อเย็น ยาอื่นที่มีผลยับยั้งการสร้างเมลาโทนินของสมอง เช่น ยานอนหลับพวกแวเลียมและซาแนกซ์ กาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาแก้หวัด ยาขับปัสสาวะ ยาลดความดัน กลุ่มบีตาบล็อกเกอร์ หรือแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ ยาลดความอ้วนและสเตียรอยด์ เช่น เพรดนิโซน

ข้อควรระวัง: เมลาโทนินอาจทำให้คุณรู้สึกง่วงมาก และควรรับประทานก่อนจะเข้านอน ไม่ควรขับรถหรือทำงานกับเครื่องจักรหลังจากรับประทานเข้าไป หากคุณรับประทานยาอื่นเป็นประจำ มีโรคประจำตัว กำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เป็นเบาหวาน มีปัญหาฮอร์โมนไม่สมดุลจากโรคอื่น หรืออยู่ในวัยหมดประจำเดือนและกำลังรับฮอร์โมนทดแทน คุณไม่ควรรับประทานเมลาโทนินก่อนปรึกษาแพทย์ประจำตัว และเนื่องจากเมลาโทนินอาจกระตุ้นภูมิคุ้มกันของคุณมากเกินไปได้ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคภูมิคุ้มกันต่อต้านร่างกายตัวเอง หรือรับประทานยากดภูมิคุ้มกันอยู่ ไม่ควรรับประทานเมลาโทนินเด็ดขาด!

ที่มา: วิตามินไบเบิล

Julius

นาฬิกาดีไซน์ความหลากหลายให้เข้ากับสไตล์ของคุณ More...

G-SHOCK

ต้นแบบเฉพาะตัวกับตัวเครื่องคุณภาพความทนทาน More...

Edifice

Edifice นาฬิกาลูกผู้ชาย ทรงอิทธิพลด้วยดีไซน์ที่เร้าใจ More...

Consultant



↑ เพิ่มเพื่อนจากทาง Line เพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพต่างๆ ได้ที่นี่...

Latest Posts

Map