การเสื่อมของน้ำวุ้นตา ก่อให้เกิดแรงดึงที่จอประสาทตาได้ ถ้าแรงดึงนี้มีมากอาจทำให้จอประสาทตาฉีกขาด
(Retinal tear) ในบางครั้งการฉีกขาดของจอประสาทตา ทำให้มีเลือดออกในน้ำวุ้นตา ซึ่งอาจทำให้มีอาการตามัวได้ การที่จอประสาทตาฉีกขาดถือเป็นปัญหาสำคัญ เพราะก่อให้เกิดจอประสาทตก (Retinal detachment) ตามมา และทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ในที่สุด การหดตัวและการลอกตัวของน้ำวุ้นตา ก่อให้เกิดแรงดึงที่จอประสาทตาได้ถ้าแรงดึงนี้มีมากอาจทำให้จอประสาทตาฉีกขาด (Retinal tear) ในบางครั้ง
อาการ ผู้ป่วยมองเห็นคล้ายแมลงตัวเล็กเหมือนหยากไย่วิ่งผ่านไปมาในดวงตา บ้างก็เห็นเป็นเส้นหยักๆ ที่เวลากรอกตาจะเห็นวิ่งผ่านไปมา หรือมองเห็นคล้ายมีเศษผงอยู่ในตาตลอดเวลา หากผู้ป่วยมีอาการอื่นร่วม เช่น ปวดตา เป็นพักๆ เยื่อตาขาวดูแดงๆ หรืออยู่ๆ ตาข้างใดข้างหนึ่งขุ่นมัวไปกะทันหัน กรณีนี้รีบไปตรวจทันที เพราะอาจมีโรคต้อหินด้วย
สาเหตุ เกิดจากความเสื่อมของน้ำวุ้นภายในลูกตา ซึ่งมีการหดตัว จับกลุ่ม หรือตกตะกอน บดบังการมองเห็น บางครั้งเมื่อก้อนวุ้นนี้ตกลงมาข้างล่า่งก็จะมีอาการปกติ ไม่เห็นแมลงลอยไปมาในดวงตาอีก ระวังอาจมีการลอกของจอตา หรือมีเลือดออก หรือมีพังผืดเกิดขึ้น ในคนปกติจะมีการเสื่อมสลายของวุ้นลูกตาอย่างช้าๆ อยู่ตลอดเวลา แต่จะมีอาการเร็วหรือช้าก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงของแต่ละคน
ปัจจัยเสี่ยง
- ผู้สูงอายุ คนที่สายตาสั้นมาก
- คนที่ใช้สายตามาก เช่น ผู้ที่เล่นคอมพิวเตอร์เป็นประจำ เป็นต้น โดยปัจจุบันนี้พบว่าคนไทยเป็นโรคนี้กันมากหลายล้านคน อันเนื่องมาจากคอมพิวเตอร์เป็นปัจจัยในการดำเนินชีวิตชีวิตที่เพิ่มเข้ามา
- เคยมีประวัติกระทบกระเทือนลูกตาอย่างรุนแรง
- เคยมีการอักเสบหรือติดเชื้อภายในลูกตา
- เคยได้รับการผ่าตัดต้อกระจก
- คนในครอบครัวเป็นโรควุ้นลูกตาเสื่อม หดตัว และการลอกตัวของน้ำวุ้นตา ก่อให้เกิดแรงดึงที่จอประสาทได้ ถ้าแรงถึงนี้มีมากอาจทำให้จอประสาทตาฉีกขาด (Retinal tear) ในบางครั้งการฉีกก่อให้เกิดจอประสาทตาหลุดลอก (Retinal detachment) ตามมา
การรักษา ปัจจุบันยังไม่มียาชนิดไหนที่ทำมารักษาอาการนี้โดยเฉพาะการฉายแสงเลเซอร์เพื่อยับยั้งไม่ให้เกิดการหลุดลอกของจอประสาทตา ซึ่งมีข้อเสียคือ ทำลายจอประสาทตาได้บ้างเล็กน้อย จึงเหมาะสมกับผู้ป่วยเพียงบางคน