JA Cpanel
  •  

DooHealthy

RSSเว็บไซต์นี้ให้ข้อมูลความรู้และคำปรึกษาปัญหาสุขภาพต่างๆ เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง

โรคมะเร็งปอด

โรคมะเร็งปอดอาการ ปรากฎระยะแรก คือ ไออยู่ตลอดเวลา ต่อมาไอเสมหะ มีเลือดปน ไอออกมาเป็นเลือด เมื่อเป็นมากขึ้น

 

จะมีอาการปวดหน้าอก เจ็บเสียวในอก บางรายเสียงแหบแห้ง ต่อมในลำคอโต หายใจเหนื่อย เป็นปอดบวมหรือปอดอักเสบบ่อย หน้าและคอบวม อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลดมาก

อาการของมะเร็งปอด อาการที่พบบ่อยมีดังนี้

  • ไอเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ
  • เจ็บแน่นหน้าอก
  • ไอเสมหะมีเลือดปน
  • หายใจเหนื่อย เสียงแหบ
  • เป็นปอดบวมหรือปอดอักเสบบ่อย
  • หน้าและคอบวม
  • อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
ปัจจัยเสี่ยง
  • ติดบุหรี่ ผู้ต้องรับกลิ่นควันบุหรี่บ่อยๆ ยิ่งสูบมากยิ่งมีความเสี่ยงสูง ชอบคาบกล้องยาสูบ
  • ทำงานในบริเวณที่มีฝุ่นละออง เขม่า ควัน ท่อไอเสีย แหล่งอากาศ เป็นพิษ รวมทั้งควันธูป เทียน
  • ทำงานกับสารระเหยต่างๆ ที่ระคายเคืองหลอดลมและเนื้อปอด เช่น ใยหินแอสเบสทอสในเหมืองใยหิน หรือสารแรนดอนซึ่งเป็นแก็สที่ไม่มีกลิ่น ซึ่งพบได้ตามดินและหิน โดยเฉพาะในเหมืองแร่
  • ควันจากการเผาไหม้น้ำมัน และถ่านหิน
  • มีโรคปอดอักเสบเรื้อรัง หรือวัณโรคปอด
  • มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง
การรักษา เมื่อไอมีเลือดปนออกมากับเสมหะนานเกิน 2 สัปดาห์ ต้องรีบพบแพทย์ทันที ในรายที่สงสัยแพทย์จะตรวจเสมหะเพื่อหาเซลล์มะเร็งและทำการเอกซเรย์ทรวงอกดูก้อนเนื้องอกที่ปอด หากพบสิ่งผิดปกติจะตรวจต่อด้วย
  1. ตรวจด้วยกล้องส่องดูหลอดลมและหลอดลมฝอย Brochoscopy โดยสอดท่อบางๆ เล็กเข้าทางรูจมูก เข้าหลอดลม และเข้าไปถึงปอด ตัดเอาเนื้อปอดที่สงสัยมาส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์
  2. ใช้วิธี Needle aspiration โดยการใช้เข็มเจาะผ่านผนังทรวงอกเข้าไปดูดน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดมาตรวจ
  3. เจาะผ่านผนังทรวงอกเข้าปอดแล้วดูดเอาชิ้นเนื้อมาตรวจหาเซลล์มะเร็ง
หลังจากทราบว่าเป็นมะเร็ง แพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเพื่อจะทราบว่ามะเร็งแพร่กระจายหรือยัง โดยตรวจด้วยซีทีสแกน หรือตรวจด้วยเครื่อง MRI หรือสแกนหลังจากฉีดรังสีเข้ากระแสเลือด และวัดรังสีที่อวัยวะใกล้เคียง เช่น ตับ กระดูก เป็นต้น การรักษาหากก้อนมะเร็งมีขนาดเล็ก ใช้วิธีผ่าตัดเอาปอดออกบางกลีบหรือตัดทั้งปอด ซึ่งต้องให้เคมีบำบัดตามหลังเพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งที่ยังหลงเหลือให้หมดสิ้นไป โอกาสรอดชีวิตถึง 5 ปี มีสูงถึงร้อยละ 80 หากเป็นมะเร็งระยะที่ 2 คือ กระจายสู่ต่อมน้ำเหลืองแล้ว จะรักษาด้วยการผ่าตัดและฉายรังสี มีโอกาสรอดถึง 5 ปี รังสีรักษา อาจให้ก่อนผ่าตัดเพื่อลดขนาดของมะเร็ง แพทย์อาจให้เคมีบำบัดร่วมกับรังสีรักษา และยังมีการรักษาด้วยวิธีโฟโตไดนามิก (Photodynamic therapy) โดยการฉีดสารเคมีเข้าเส้นเลือด สารนั้นจะอยู่ที่เซลล์มะเร็ง แล้วใช้เลเซอร์เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง

Julius

นาฬิกาดีไซน์ความหลากหลายให้เข้ากับสไตล์ของคุณ More...

G-SHOCK

ต้นแบบเฉพาะตัวกับตัวเครื่องคุณภาพความทนทาน More...

Edifice

Edifice นาฬิกาลูกผู้ชาย ทรงอิทธิพลด้วยดีไซน์ที่เร้าใจ More...

Consultant



↑ เพิ่มเพื่อนจากทาง Line เพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพต่างๆ ได้ที่นี่...

Latest Posts

Map