JA Cpanel
  •  

DooHealthy

RSSเว็บไซต์นี้ให้ข้อมูลความรู้และคำปรึกษาปัญหาสุขภาพต่างๆ เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง

โรคมะเร็งเต้านม

โรคมะเร็งเต้านมอาการ ในระยะเริ่มแรกยังไม่แสดงอาการผิดปกติ ต่อมาจะคลำได้ก้อนที่เต้านม หัวนมบุ๋ม มีน้ำเหลืองไหล

 

จากหัวนม จากนั้นจะเป็นมะเร็งระยะรุนแรงลามจากเต้านมไปสู่ส่วนอื่นของร่างกาย เช่น กระดูก ตับ ปอด สมอง เป็นต้น มีอาการผอมลงมากและเจ็บปวดบริเวณที่เป็นมะเร็ง

ผู้หญิงไทยเป็นมะเร็งมากในอายุระหว่าง 45-55 ปี เป็นชนิดของมะเร็ง อันดับที่ 2 รองลงมาจากมะเร็งปากมดลูก พบได้ทั้งในหญิงที่มีสามีแล้วและหญิงโสด

คนที่มีความเสี่ยงสูง คือ

- ผู้หญิงที่มีญาติพี่น้องเป็นมะเร็งเต้านม
- ผู้หญิงที่ไม่มีบุตร
- ผู้หญิงอ้วนมีไขมันสูง ซึ่งร่างกายสามารถเปลี่ยนไปเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนได้
- ผู้หญิงที่สมดุลฮอร์โมนในร่างกายเสียไป มีเอสโตรเจนในระดับสูงเป็นเวลานาน

นอกจากนี้การที่เต้านมถูกกระทบกระแทกและการฉีดสิ่งแปลกปลอมเข้าเต้านม มีโอกาสเกิดมะเร็งเต้านมสูงกว่าคนปกติ

การรักษา ใช้การผ่าตัด มีทั้งการตัดทั้งเต้าหรือตัดเอาเฉพาะก้อนออกไปแล้วแต่ความรุนแรง และใช้การฉายรังสี ใช้เคมีบำบัดฉีดเข้าเส้นเลือดดำ ไปทำลายเซลล์มะเร็ง หรือใช้ฮอร์โมนบำบัดยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ทั้งนี้เนื้อเยื่อเต้านมจะมีความยาวไปถึงรักแร้และหน้าท้อง

หญิงไทยมักเป็นมะเร็งเต้าชนิดที่เซลล์บุท่อน้ำนมที่เชื่อมระหว่างต่อมน้ำนมไปยังหัวนม และส่วนใหญ่จะพบบริเวณด้านบนส่วนรอบนอกของเต้า

ถ้าหากตรวจพบระยะเริ่มต้นมีโอกาสรักษาหายได้สูงถึงร้อยละ 95 ต่อมามะเร็งรุกรานจากกลุ่มท่อน้ำนมไปยังต่อมน้ำเหลือง ระยะนี้สามารถตรวจคลำเต้านมพบก้อนผิดปกติในเต้านม

การป้องกัน

1. โดยหลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง รักษารูปร่าง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
2. คนที่อายุ 20 ปีขึ้นไป ควรตรวจคลำเต้านมทุกเดือน เพื่อตรวจหาความผิดปกติของเต้านม สามารถพบได้เมื่อเข้าสู่ระยะรุกราน ซึ่งความไวร้อยละ 30 ดังนั้นผู้ที่คลำด้วยตนเองแล้วไม่แน่ืใจจึงควรให้แพทย์คลำให้ ซึ่งให้ความแม่นยำสูงกว่า คือ ร้อยละ 80 นอกจากนี้ยังมีการตรวจเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรม ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง มักใช้เมื่อคลำพบก้อนผิดปกติแล้ว

การตรวจสอบมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

สำหรับผู้หญิงอายุ 20 ปีขึ้นไป ควรตรวจคลำเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน ควรตรวจหลังหมดประจำเดือนประมาณ 5-7 วัน เพราะเป็นช่วงที่เต้านมขยายน้อยที่สุด วิธีการตรวจคือ ดูขนาดและรูปร่างของเต้านมว่าเปลี่ยนไปจากเดิมมีของเหลวไหลออกมา หรือตรวจคลำพบก้อนผิดปกติ

สำหรับผู้หญิงอายุระหว่าง 20-39 ปี

1. ตรวจเต้านมของตัวเองทุกเดือน
2. ให้แพทย์ตรวจเต้านมให้อย่างน้อยทุก 3 ปี

สำหรับผู้หญิงอายุ 40-49 ปี ที่ไม่มีความเสี่ยงสูง (หากมีความเสี่ยงสูงต้องไปตรวจให้บ่อยขึ้น)

1. ตรวจเต้านมของตัวเองทุกเดือน
2. ให้แพทย์ตรวจเต้านมให้ทุกปี
3. ตรวจแมมโมแกรมทุกปี

วิธีตรวจคลำเต้านมเลือกคลำขณะอาบน้ำจะทำได้ง่าย เพราะเป็นส่วนตัวและน้ำช่วยให้ลื่นมือ หากไม่สะดวกจะนอนคลำสำรวจอยู่บนเตียงนอนก็ได้หรือจะยืนตรวจคลำหน้ากระจกก็ได้แล้วแต่สะดวก

1. ปล่อยแขนข้างลำตัวตามสบาย
2. ยกแขนทั้งสองข้างขึ้นไขว้กันตรงท้ายทอย
3. มือเท้าเอว และเกร็งกล้ามเนื้อช่วงไหล่ พร้อมกับออกแรงเกร็งหน้าอก ให้ช่วงอกมีลักษณะตึงขึ้น เพื่อสังเกตสิ่งผิดปกติให้ชัด สำรวจทั้งด้านหน้าและด้านข้าง สิ่งที่จะให้มองหาหรือคลำหาตลอดชีวิตก็คือ ให้สังเกตและเปรียบเทียบดูขนาดลักษณะ รอยบุ๋ม เว้า รอยย่น นูน ของเต้านมและหัวนมทั้งสองข้าง ว่ามีผิดปกติหรือไม่

- ดูว่าหัวนมอยู่ในระดับเดียวกันหรือไม่ (ปกติจะเท่าหรือเกือบเท่ากัน)
- หัวนมถูกดึงรั้งเข้าไปข้างในหรือไม่ (ปกติหัวนมควรยื่นออก)
- เต้านมมีลักษณะบิดเบี้ยวหรือไม่
- เนื้อนมมีรอยบุ๋มเหมือนเปลือกส้มหรือไม่ หรือมีสีแดงเป็นจ้ำๆ มีก้อนเนื้อ
- ลองเอามือบีบหัวนมดู ว่ามีของเหลวเยิ้มออกมาที่ไม่ใช่น้ำนมหรือไม่ ถ้ามีออกมาให้สงสัยว่าจะเป็นมะเร็ง

4. นั่งและโค้งตัวมาข้างหน้า โดยใช้มือทั้งสองข้างวางบนเข่าหรือเก้าอี้ ท่านี้เต้านมจะห้อยลงไปตรงๆ หากมีสิ่งผิดปกติจะเห็นได้ชัดมากขึ้น

จากนั้นลูบคลำเต้านม ทำได้ 3 วิธี คือ วนเป็นวงกลม ลูบขึ้น-ลง หรือลูบเข้าหาหัวนม

 

การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

 

1. วนเป็นวงกลม ยกแขนด้านเดียวกับที่จะตรวจเต้านมไปไว้ที่ท้ายทอยจะทำให้พบก้อนเนื้อได้ง่ายขึ้น แบมืออีกข้างหนึ่งใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง คลำทั้งเต้านมและรักแร้ โดยใช้ทั้งสามนิ้วคลำรอบเต้านมด้านตรงข้ามโดยรอบเป็นวงกลมพร้อมกับออกแรงกดด้วย จากรอบนอกวนไปจนถึงหัวนมตรงกลางเต้า เมื่อคลำทั่วเต้านมแล้ว ให้คลำใต้ราวนมและบริเวณรักแร้ว่ามีต่อน้ำเหลืองโตหรือไม่ ด้วยการกดจากรักแร้มาหาเต้านม เสร็จแล้วเปลี่ยนแขนไปตรวจเต้านมอีกข้าง ใช้สามนิ้วตรวจคลำเต้านมเช่นเดิม

 

ตรวจมะเร็งเต้านม

 

2. ลูบขึ้น-ลง เป็นอีกวิธีหนึ่งในการลูบคลำ ใช้สามนิ้วคือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง กดใต้ราวนมมาถึงรักแร้ แล้วกดในแนวขึ้น-ลงจนทั่วทั้งเต้าสองเต้าดังในภาพ ความผิดปกติที่สังเกตได้คือ รู้สึกถึงก้อนเนื้อแข็งใต้ผิวหนัง อาจจะอยู่นิ่งกับที่ หรืออาจจะกลิ้งไปมา (แยกให้ออกว่าไม่ใช่เต้านมเป็นไตแข็งอย่างที่สาาวๆ เป็น)

 

สาเหตุมะเร็งเต้านม

 

3. ลูบเข้าหาหัวนม ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง คลำจากด้านนอกของเต้านมเข้ามาตรงกลางหัวนม โดยกำหนดแบ่งเต้านมเป็นส่วนๆ เหมือนนาฬิกา คิดถึงแนวนาฬิกา ส่วนบนสุดคือ เลข 12 และส่วนล่างคือ เลข 6 เริ่มลูบจากแนว 12 นาฬิกา มาที่หัวนม แล้วเลื่อนสามนิ้วไปกดที่บริเวณ 1 นาฬิกา จากด้านนอกมาที่หัวนม (ดังรูป) จนทั่วทั้งเต้านมและบริเวณรักแร้ จะลองคลำดูทั้ง 3 วิธีก่อนก็ได้ แล้วถนัดวิธีไหนก็เลือกเอาวิธีหนึ่ง ผู้เชี่ยวชาญได้บอกไว้ว่า วิธีที่ 3 ตรวจได้ละเอียด ใช้เวลานานกว่า ตรวจคลำพบได้ง่ายกว่าอีก 2 วิธีนั้น

 

วิธีรักษามะเร็งเต้านม

 

ผู้ที่มีเต้านมขนาดใหญ่ ให้ใช้มือข้างเดียวกับเต้านมที่ต้องการตรวจประคองเต้านมและตรวจคลำเต้านมจากด้านล่าง ส่วนมืออีกข้างหนึ่งตรวจคลำเต้านมจากด้านบน ค่อยๆ บีบหัวนม โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ เพื่อสังเกตว่ามีน้ำเหลือง น้ำนม เลือด หรือของเหลวอื่นไหลออกมาหรือไม่

หากตรวจพบสิ่งผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่ง แสดงว่ามีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งเต้านม ทั้งนี้ก้อนที่คลำได้บริเวณเต้านมไม่ใช่ถุงน้ำหรือเนื้องอกธรรมดาเสมอไป อาจเป็นมะเร็งเต้านมได้ อย่างไรก็ตาม ควรรีบไปพบแพทย์ทันที ซึ่งอาจได้รับการตรวจสอบให้แน่ชัดด้วยการคลำโดยแพทย์ และเอกซเรย์เต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรม หากพบจะมีการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ

Julius

นาฬิกาดีไซน์ความหลากหลายให้เข้ากับสไตล์ของคุณ More...

G-SHOCK

ต้นแบบเฉพาะตัวกับตัวเครื่องคุณภาพความทนทาน More...

Edifice

Edifice นาฬิกาลูกผู้ชาย ทรงอิทธิพลด้วยดีไซน์ที่เร้าใจ More...

Consultant



↑ เพิ่มเพื่อนจากทาง Line เพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพต่างๆ ได้ที่นี่...

Latest Posts

Map