JA Cpanel
  •  

DooHealthy

RSSเว็บไซต์นี้ให้ข้อมูลความรู้และคำปรึกษาปัญหาสุขภาพต่างๆ เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง

โรคหิด

อาการ คือมีตุ่มน้ำและตุ่มหนองตามผิวหนังร่วมกับอาการคันมาก พบตามรักแร้ ง่ามนิ้วมือ นิ้วเท้า ฝ่ามือ ฝ่าเท้า

 

อวัยวะสืบพันธุ์ด้วย โดยเฉพาะในเวลากลางคืนจะคันมากจากการที่ร่างกายมีปฏิกิริยากับมูลของหิด ผู้ป่วยหลายคนจะมีผื่นเป็นสะเก็ดหนา ตัดหิดจำนวนมากจะอยู่ใต้สะเก็ดนี้ หรือผื่นเป็นเส้นนูน ขยุกขยิก คดเคี้ยวคล้ายเส้นด้ายสั้นๆ 5-15 มิลลิเมตร

หิดเป็นตัวไรขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าเห็นเป็นจุดเล็กสีน้ำตาลหรือสีเทา หิดมี 8 ขา ชอบอาศัยอยู่ตามรูขุมขนบนผิวหนัง ทำให้บริเวณนั้นเป็นตุ่มแดงและคัน มีชีวิตอยู่กับคนได้ประมาณ 30-60 วัน แต่อยู่นอกร่างกายคนได้เพียง 2-3 วัน ก็ตาย เพราะขาดอาหาร

หิดตัวเมียจะขุดโพรงบนผิวหนังคนเราเพื่อการวางไข่ วันละ 2-3 ฟอง เกิดเป็นตุ่มนูนบนผิวหนัง มูลของมันก็อยู่ในโพรงนั้นด้วย เมื่อวางไข่ครบ 24 ฟอง แล้วตัวแม่ก็จะตายไป ปล่อยให้ไข่ฟักตัวอ่อนออกมา

หิดพบได้ในทุกเพศทุกวัย ติดต่อกันโดยการสัมผัส ยกเว้นใบหน้าและศีรษะของผู้ใหญ่ เพราะหิดไม่ชอบบริเวณที่มีต่อมไขมันมากหรือผิวหนังหนามากแต่สำหรับเด็กเล็กนั้นจะพบหิดได้ทั่วทั้งตัว รวมทั้งศีรษะและใบหน้า ฝ่ามือ ฝ่าเท้าด้วย เพราะใบหน้าเด็กๆ ไขมันยังน้อยอยู่

หิดตัวเมียชีวิตอยู่บนที่นอนโดยไม่ได้ดูดกินเลือดได้นาน 24-36 ชั่วโมงในผู้หญิงมักพบบริเวณสะดือ ผู้ชายพบได้ที่องคชาตด้วย เวลาที่หิดกัดจะเกิดตุ่มน้ำใส และทำให้คันมาก

การรักษา หากวินิจฉัยโรคได้เอง จะใช้สมุนไพรก็ได้คือ ใช้ใบและต้นของเจตมูลเพลิงขาว โขลกให้ละเอียด คั้นเอาน้ำมาทาบริเวณที่เป็นหิดวันละ 4 ครั้ง จนกว่าตุ่มจะยุบลง หรือใช้เมล็ดลำโพง 3 ช้อนโต๊ะ แช่ในน้ำมันพืช 1 แก้ว นาน 7 วัน กรองเอาน้ำมันมาทาตุ่มหิด วันละ 3-4 ครั้ง จนกว่าจะหาย ทั้งนี้ต้องทำความสะอาดที่นอนด้วย เพราะตัวหิดมักตกอยู่ และทำให้เกิดการติดเชื้อช้า

หรือควรพบแพทย์ แพทย์จะตรวจด้วยเครื่องมือ Wood's lamp สำหรับดูโพรงของหิด และจะขูดเอาโพรงของหิดมาป้ายบนแผ่นกระจกสไลด์ส่งห้องปฏิบัติการเพื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ หากพบตัวหิดก็จะวินิจฉัยได้แน่นอน บางครั้งพบเพียงไข่หรือมูลของมันก็ให้การวินิจฉัยได้

สามารถกำจัดเชื้อด้วยยาทา เช่น ขี้ผึ้งกำมะถัน (6-10% sulfur ointment) เป็นต้น ทาทั้งตัวตั้งแต่คอลงมา ไม่ใช่ทาเฉพาะตรงที่เป็นโรค ส่วนผู้ใหญ่ศีรษะไม่ต้องทา เพราะหิดไม่ชอบไปอาศัย หากคนใกล้ชิดมีอาการดังกล่าวนี้หลายคนต้องรักษาพร้อมกัน และกำจัดเชื้อบนผ้าปูที่นอนให้หมดสิ้น โดยการนำไปตากแดด หากซักได้ให้นำไปซัก และกำจัดเชื้อบนผ้าปูที่นอนให้หมดสิ้น โดยการนำไปตากแดด หากซักได้ให้นำไปซัก ใช้ยาฆ่าเชื้อตามเตียงที่นอน และงดการมีเพศสัมพันธ์

สำหรับเด็กเล็กต่ำกว่า 2 ขวบ ควรเลือกใช้ยาที่มีผลข้างเคียงน้อย เช่น ครีมเปอร์เมธริน 5% (5% permethrin cream) ทาทั้งตัว ศีรษะ ใบหน้า ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ใต้ซอกเล็ก ทาทิ้งไว้นาน 12-24 ชั่วโมง ถ้ามีตุ่มหิดจำนวนมากยิ่งควรทาทิ้งให้นานถึง 24 ชั่วโมง จึงอาบน้ำให้สะอาด ทำอย่างนี้ติดต่อกัน 3 วัน และต่อมาอีก 7 วัน จึงทายาซ้ำอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้มั่นใจว่าหิดตายหมด ยาไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่ติดเสื้อผ้า บางคนเท่านั้นที่อาจแพ้เป็นผื่น คัน หรือแสบร้อนบ้าง ส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์

สำหรับตัวยาเบนซิลเบนโซเอท เป็นยาที่แสบมากและมีพิษ จึงห้ามใช้บริเวณรอยถลอก ห้ามใช้ในเด็กเล็ก รวมทั้งห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์ หญิงให้นมบุตร แต่การใช้ยาน้อยวันกว่า คือ ทา 24 ชั่วโมง ต่อมาอีก 7 วัน จึงทายาทั่วตัวซ้ำอีกครั้งเพื่อกำจัดตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่ในตอนแรก

ตัวยาแกมมาเบนซีนเฮกซาคลอไรด์ มีพิษต่อระบบประสาท จึงห้ามใช้บริเวณรอยถลอก ห้ามใช้ในเด็กต่ำกว่า 2 ขวบ รวมทั้งห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ข้อดีคือ ใช้ยาในระยะสั้น คือ ในเด็กอายุมากกว่า 10 ขวบ ทายาเกือบทั่วตัว ยกเว้น ลำคอ และศีรษะ ทิ้งไว้ 3 ชั่วโมง แล้วจึงล้างออก ห้ามเอามือขยี้ตาหรือเอามือเข้าปาก หรือแคะจมูกเด็ดขาด เพราะมีอันตรายต่อระบบประสาท จากนั้นวันรุ่งขึ้นให้ทายาซ้ำอีกครั้ง 3 ชั่วโมง แล้วล้างออกเหมือนเดิม

Julius

นาฬิกาดีไซน์ความหลากหลายให้เข้ากับสไตล์ของคุณ More...

G-SHOCK

ต้นแบบเฉพาะตัวกับตัวเครื่องคุณภาพความทนทาน More...

Edifice

Edifice นาฬิกาลูกผู้ชาย ทรงอิทธิพลด้วยดีไซน์ที่เร้าใจ More...

Consultant



↑ เพิ่มเพื่อนจากทาง Line เพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพต่างๆ ได้ที่นี่...

Latest Posts

Map