JA Cpanel
  •  

DooHealthy

RSSเว็บไซต์นี้ให้ข้อมูลความรู้และคำปรึกษาปัญหาสุขภาพต่างๆ เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง

โรคเอสแอลอี

โรคเอสแอลอีอาการ โรคลูปัส หรือโรคเอสแอลอี ต้องมีอาการอย่างน้อย 4 อย่างของอาการต่อไปนี้ 1. ไข้ต่ำๆ เรื้อรังไม่ทราบ

 

สาเหตุ

2. มีอาการเพลียมากผิดปกติเป็นเวลานาน

3. มีอาการเบื่ออาหาร รวมถึงน้ำหนักลด

4. อ่อนเพลีย ร่วมกับมีผื่นขึ้นร่วมด้วยเมื่อถูกแสงแดด

5. มีผื่นขึ้นโดยเฉพาะที่หน้า และส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ซึ่งไม่ได้เกิดจากผื่นแพ้

6. มีอาการปวด บวมตามข้อเล็กๆ เช่น นิ้วมือ นิ้วเท้า เป็นต้น โดยเฉพาะในตอนเช้าๆ หลังตื่นนอน

7. มีผมร่วงมากผิดปกติ

8. มีอาการบวมตามตัว ตามหน้า หรือตามเท้า

9. พบแพทย์หลายครั้งแล้ว ไม่ได้รับการวินิจฉัยที่แน่นอน

ผู้ป่วยส่วนมากจะมีอาการแพ้แดด คือ ผิวคล้ำง่ายมาก มีอาการปวดร้อน บางคนผิวหนังจะมีผื่นแดงเกิดขึ้นเมื่อถูกแดด และบางรายที่มีอาการรุนแรงจะเกิดผื่นแดงที่ข้างจมูกทั้งสองข้าง ทำให้มีลักษณะเหมือนปีกผีเสื้อ บางรายอาจมีอาการผมร่วงมากผิดปกติ มักมีความรู้สึกไวต่ออากาศหนาว ถ้าหากนิ้วมือหรือนิ้วเท้าถูกความเย็นจะมีลักษณะเหี่ยวซีดขาว เพราะหลอดเลือดฝอยเกิด การตีบตันไม่มีเลือดไปเลี้ยงชั่วคราว

ในรายที่เป็นรุนแรงมาก หรือในระยะโรคกำเริบ หากไม่ได้รับการรักษาหรือไม่ได้พักผ่อนเพียงพอ (ผู้ป่วยควรได้นอนวันละ 8 ชั่วโมง) อาจมีอาการต่อมน้ำเหลืองโต ตับโต ม้ามโต โรคไตอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ปอดอักเสบ รวมไปถึงความผิดปกติทางระบบประสาทและสมอง เพราะโรคนี้สามารถทำลายอวัยวะได้ทุกส่วน

 

โรคเอสแอลอี คือ

 

สาเหตุ โรคลูปัสเกิดจากร่างกายสร้างภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตนเอง โรคนี้ไม่ได้เป็นมาแต่กำเนิด พบบ่อยในเด็กหญิงและผู้หญิงวัย 35 ปีขึ้นไป แต่จะพบในผู้ชายน้อยมาก และพบในคนแถบเอเชียมากกว่าคนตะวันตก

ปัจจัยหลายอย่างได้เป็นตัวกระตุ้น ได้แก่

  1. ทางพันธุกรรม หากมีพ่อแม่ ญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ โอกาสเป็นโรคนี้จะสูงขึ้น มีประมาณร้อยละ 5 ของเด็กเอสแอลอี ที่มีคุณแม่เป็นเอสแอลอี
  2. มียีนบางชนิดที่ทำให้เกิดโรคนี้ และมียีนบางชนิดที่กระตุ้นให้เกิดโรคนี้ เมื่อมีปัจจัยสิ่งแวดล้อมบางอย่างร่วมด้วย
  3. แสงอุลตราไวโอเลต มีผลค่อนข้างแน่ชัด และยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้โรคเอสแอลอีกำเริบได้
  4. ยาบางชนิด โดยเฉพาะยาในกลุ่มลดความดันโลหิตสูง ยาหัวใจ และยากันชัก เป็นต้น

การรักษา เมื่อสงสัยควรต้องรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคข้อ และหากเป็นผู้ป่วยเด็กควรพบแพทย์เฉพาะทางรูมาติกเด็ก จะให้การวินิจฉัยได้เร็วกว่าแพทย์ทั่วไป ผลการตรวจเลือดพบสารต่อต้านเนื้อเยื่อตนเอง บางครั้งอาจมีเกล็ดเลือดหรือเม็ดเลือดขาวต่ำ ยาที่ได้รับอาจเป็นยาต้านการอักเสบ ส่วนระยะรุนแรงอาจได้ยาสเตียรอยด์สักระยะหนึ่งจนโรคทุเลาลง และเมื่อโรคเข้าสู่ระยะสงบซึ่งอาจเป็นตอนไหนก็ได้ สามารถหยุดยาได้ เพียงแต่ดูแลสุขภาพทั่วไปให้แข็งแรง และพยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้โรคกำเริบ

 

อาการโรคเอสแอลอี

โรคเอสแอลอี คืออะไร

Julius

นาฬิกาดีไซน์ความหลากหลายให้เข้ากับสไตล์ของคุณ More...

G-SHOCK

ต้นแบบเฉพาะตัวกับตัวเครื่องคุณภาพความทนทาน More...

Edifice

Edifice นาฬิกาลูกผู้ชาย ทรงอิทธิพลด้วยดีไซน์ที่เร้าใจ More...

Consultant



↑ เพิ่มเพื่อนจากทาง Line เพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพต่างๆ ได้ที่นี่...

Latest Posts

Map