JA Cpanel
  •  

DooHealthy

RSSเว็บไซต์นี้ให้ข้อมูลความรู้และคำปรึกษาปัญหาสุขภาพต่างๆ เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง

นิ่วในทางเดินปัสสาวะ

นิ่วในทางเดินปัสสาวะอาการ ผู้ป่วยมีอาการแตกต่างกันไปบ้าง จะขึ้นกับขนาด จำนวน และตำแหน่งก้อนนิ่ว รวมทั้งยังขึ้น

 

อยู่กับภาวะของไตว่า มีการติดเชื้อหรือไม่ อาการโดยรวมที่มักพบคือ ปัสสาวะกะปริบกะปรอย และปวดบั้นเอว

  • หากเป็นนิ่วในไต มักมีอาการปวดเสียดบริเวณเอว คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะขุ่นหรือมีเลือดปน ปวดอยู่ครู่หนึ่งแล้วหายไปแล้วปวดใหม่อีก ตามแรงบีบของกล้ามเนื้อท่อไตที่พยายามบีบเอาก้อนนิ่วออกไป
  • นิ่วที่อุดตันกรวยไต ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเอวโดยที่ไม่มีอาการปวดร้าวไปบริเวณขาหนีบ
  • หากเป็นนิ่วอุดที่ท่อไต ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรงปวดบิดเหมือนคลอดลูก บางคนปวดเอวและปวดร้าวลงมาบริเวณอวัยวะเพศเป็นพักๆ ตามจังหวะการบีบตัวของท่อไต อาจจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อาจมีเลือดออกมากับปัสสาวะด้วย ส่วนใหญ่ปัสสาวะปกติ ส่วนน้อยที่ปัสสาวะมีเลือดปน
  • หากเป็นนิ่วอุดที่ท่อไตต่อกับกระเพาะปัสสาวะ ผู้ป่วยจะมีอาการระคายเคืองเวลาปัสสาวะ อาจมีเลือดปนออกมาด้วย
  • นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หากก้อนนิ่วมีขนาดเล็กอาจจะไม่มีอาการหรือก้อนขนาดใหญ่ก็จะมีอาการปัสสาวะขัด กระปริบกะปรอย ปวดแบ่ง ถ่ายไม่สุด ซึ่งอาจทำให้มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะง่ายขึ้น

นิ่วที่เกิดในระบบทางเดินปัสสาวะ มักพบในตำแหน่งต่างๆ เช่น นิ่วในไต นิ่วในท่อไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ และนิ่วในท่อปัสสาวะ โรคนิ่วทางเดินปัสสาวะ หากทิ้งไว้นานอาจเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น เกิดการระคายเคืองไต จนเป็นไตอักเสบ ไตวาย

สาเหตุ

  1. ส่วนใหญ่เกิดจากความเข้มข้นของน้ำปัสสาวะ ที่ประกอบด้วยสารคริสตัลลอยด์อยู่ในระดับสูง และขาดความสมดุลกับสารคอลลอยด์ทำให้มีการตกผลึกรวมตัวกันเป็นก้อนนิ่วและมีขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ กระทบกระเทือนเนื้อเยื่อจนฉีกขาดได้
  2. เกิดจากการมีสิ่งแปลกปลอม เช่น การใส่สายสวนปัสสาวะ การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น
  3. ปัสสาวะเข้มขึ้นจากการขาดน้ำ ภาวะขาดวิตามินเอ
  4. การเปลี่ยนแปลงภาวะกรด-ด่างของปัสสาวะ ทานยาลดกรดเป็นเวลานาน ทำให้ปัสสาวะเป็นด่าง
  5. รับประทานอาหารที่เป็นกรดหรือด่างมากเิกินไป
  6. ภาวะขาดสารออร์โธฟอสเฟต
  7. เกิดจากโรคที่ทำให้คัลเซียมและฟอสเฟตมากในปัสสาวะ ได้แก่ ภาวะผิดปกติที่ต่อมไธรอยด์ และโรคเกาต์

การวินิจฉัย นอกจากตรวจตะกอนปัสสาวะแล้วการเอกซเรย์สามารถพบก้อนนิ่วชนิดทึบแสง บางรายอาจต้องฉีดสารทึบแสงแล้วฉายเอกซเรย์หรือตรวจพิเศษด้วยกล้องส่องเข้าไปในท่อไต

การรักษา แพทย์อาจจะพิจารณาให้การรักษาแบบประคับประคองไว้ก่อน อย่างเช่น การให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อลดการติดเชื้อ ยาแก้ปวด การดื่มน้ำมากกว่า 3 ลิตรต่อวัน และการออกกำลังกาย ซึ่งจะช่วยให้นิ่วขนาดเล็กๆ หลุดออกมากับปัสสาวะ หรือการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับชนิดของนิ่วเพื่อปรับสภาพความเป็นกรดด่างของปัสสาวะ เป็นต้น

สำหรับยาสลายนิ่วจะใช้ให้เหมาะกับประเภทของนิ่วจึงจะได้ผล ทั้งนี้ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรับประทานอาหาร การดื่มน้ำด้วย

สุดท้ายหากยังไม่ได้ผลจะใช้การผ่าตัดด้วยเลเซอร์หรือกล้องเอนโดสโคปหรืออัลตราซาวนด์ ซึ่งต้องปรับเปลี่ยนการทานอาหารและดื่มน้ำเสียใหม่ด้วย

คนที่เคยเป็นโรคนิ่วรักษาหายแล้ว ใน 10 ปี มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำร้อยละ 50 ดังนั้นควรทานยาตามแพทย์สั่งและปฏิบัติตัวให้ดี

สำหรับสมุนไพรที่ช่วยขับปัสสาวะออก ซึ่งอาจช่วยให้นิ่วเล็กๆ หลุดออกมาได้ ในตำราสมุนไพรระบุว่า ใช้รักษาอาการขัดเบาได้ กระเจี๊ยบแดง ข่า ตะไคร้ สับปะรด หญ้าคา อ้อยแดง หญ้าหนวดแมว โดยนำมาต้มกับน้ำแล้วดื่มไปจนกว่าอาการจะดีขึ้น

Julius

นาฬิกาดีไซน์ความหลากหลายให้เข้ากับสไตล์ของคุณ More...

G-SHOCK

ต้นแบบเฉพาะตัวกับตัวเครื่องคุณภาพความทนทาน More...

Edifice

Edifice นาฬิกาลูกผู้ชาย ทรงอิทธิพลด้วยดีไซน์ที่เร้าใจ More...

Consultant



↑ เพิ่มเพื่อนจากทาง Line เพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพต่างๆ ได้ที่นี่...

Latest Posts

Map