JA Cpanel
  •  

DooHealthy

RSSเว็บไซต์นี้ให้ข้อมูลความรู้และคำปรึกษาปัญหาสุขภาพต่างๆ เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง

โรคไตวาย

โรคไตวายอาการ เมื่อไตเริ่มวายผู้ป่วยอาจไม่มีอาการ แต่เมื่อไตเริ่มเสื่อมมากขึ้น ผู้ป่วยจะปัสสาวะในตอนกลางคืน

 

บ่อยขึ้น เนื่องจากไตไม่สามารถดูดซึมน้ำกลับและมีอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ความจำไม่ดี มีการกระตุกของกล้ามเนื้อ ปลายเท้า ปลายมือชา เนื่องจากปลายประสาทอักเสบ เป็นตะคริว และชัก มีระบบทางเดินอาหารด้วย เช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาจเจียน ปากอักเสบ เป็นต้น

ถ้าไตวายมากขึ้นบางรายมีเลือดออกทางเดินอาหาร มีการคั่งของเกลือและน้ำจะทำให้เกิดความดันโลหิตสูง มีอาการบวมเนื่องจากหัวใจวาย บางรายมีอาการเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ คันผิวหนังที่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง-น้ำตาล

ไตวายเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีปัสสาวะออกน้อยกว่า 400 มิลลิลิตร ใน 24 ชั่วโมง ต่อมาผู้ป่วยจะมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะมีอาการซึม สับสน ความดันโลหิตสูง ชัก และหมดสติ ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่นๆ ของโรคที่เป็นสาเหตุด้วย

ไตวายเรื้อรัง เริ่มแรกจะสังเกตว่ามีปัสสาวะออกมาก และปัสสาวะบ่อยขึ้นในตอนกลางคืน ต่อมาจะมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ตามัว ผิวหนังแห้งและมีสีคล้ำ คันตามผิวหนัง บางคนอาจมีจุดแดง หรืออาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือด ในที่สุดผู้ป่วยจะมีอาการซึม ชัก หมดสติ

โรคไตวายเกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่

  • เกิดจากกรวยไตอักเสบเรื้อรัง
  • เกิดจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตตีบตันเพราะมีไขมันสูง
  • โรคทางเดินปัสสาวะอุดตัน เช่น นิ่ว หรือมีโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะบ่อยๆ เป็นต้น
  • ผลแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ตับแข็ง หัวใจวาย
  • ผลแทรกซ้อนจากโรคแพ้ภูมิตนเอง เช่น เอสแอลอี เป็นต้น
  • โรคไตจากการทานยาแก้ปวดมากเป็นเวลานาน

การรักษา เมื่อซักประวัติ ตรวจร่างกาย และมีการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) พบว่าโลหิตจาง เนื่องจากไตสร้างฮอร์โมนน้อยลง การตรวจปัสสาวะพบว่ามีไข่ขาวในปัสสาวะ ตรวจการทำงานของไต ตรวจเกลือแร่และกรดก๊าซในเลือด การตรวจขนาดไตโดยอัลตราซาวนด์ หรือซีทีสแกน

ต้องรักษาตามอาการ และรักษาที่สาเหตุของไตวาย เช่น เกิดจากยาที่มีพิษต่อไต หรือจากการติดเชื้อ เป็นต้น ผู้ป่วยไตวายต้องควบคุมอาหารอย่างเคร่งครัด เป็นอาหารสำหรับคนที่เป็นโรคไตวายโดยเฉพาะ อาทิเช่น

  • จำกัดอาหารโปรตีนสูง ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังไม่ควรรับประทานอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง คือ นม ถั่ว ดังนั้นการจะได้โปรตีนคุณภาพสูงคือ ให้ทานเนื้อสัตว์
  • ส่วนอาหารรสเค็มจัด ควรงดในรายที่มีอาการบวม หรือมีความดันโลหิตสูง
  • หลีกเลี่ยงไขมันจากสัตว์ เช่น มันหมู มันไก่ มันเป็ด และน้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม กะทิ เป็นต้น
  • เลือกอาหารที่มีโปตัสเซียมไม่สูง เนื่องจากโปตัสเซียมสูงทำให้มีการคั่งอยู่ที่ไต ซึ่งทำให้เกิดผลเสียต่อหัวใจ จนทำให้ัหัวใจหยุดเต้นได้
  • ควบคุมปริมาณน้ำดื่ม

อาจต้องฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (hemodialysis) ซึ่งค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง และมีการล้างไตด้วยเครื่องไตเทียมเพื่อขับเอาของเสียออกไป ซึ่งมีราคาแพงมาก หรือสุดท้ายต้องเปลี่ยนไต ซึ่งหาได้ยากมากที่จะเข้ากันได้ดีกับผู้ป่วย ผลการรักษาในรายที่เป็นเรื้อรังมักจะยาก และไม่หายขาด

 

Julius

นาฬิกาดีไซน์ความหลากหลายให้เข้ากับสไตล์ของคุณ More...

G-SHOCK

ต้นแบบเฉพาะตัวกับตัวเครื่องคุณภาพความทนทาน More...

Edifice

Edifice นาฬิกาลูกผู้ชาย ทรงอิทธิพลด้วยดีไซน์ที่เร้าใจ More...

Consultant



↑ เพิ่มเพื่อนจากทาง Line เพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพต่างๆ ได้ที่นี่...

Latest Posts

Map