อาการ ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง หากได้เรอจะรู้สึกคลายความแน่นท้องลง บางคนอาจมีผายลมด้วย ปกติ
คนเราสามารถขับก๊าซส่วนเกินโดยการขับออกทางปากและขับทางก้น หากแก็สนั้นไม่ถูกขับออกจากร่างกาย จะทำให้มีการสะสมไว้ในทางเดินอาหาร กลายเป็นท้องอืด อึดอัด และสร้างความรำคาญ มีหลายคนที่ไวต่อการเกิดท้องอืดแม้ว่าจะมีแก็สไม่มาก
แก็สจำนวนมากไปกดการเคลื่อนไหวของลำไส้ ทำให้มีการอักเสบของช่องท้อง ซึ่งจะมีอาการปวดท้องด้วย ซึ่งอากาศส่วนหนึ่งจะถูกดูดทางลำไส้ อีกส่วนหนึ่งจะถูกขับออกทางผายลม มีบางส่วนที่เรอออกทางปาก
การเคี้ยวหมากฝรั่ง มีน้ำมูกไหล สูบบุหรี่ จะทำให้มีการกลืนแก็สมากกว่าปกติ
สาเหตุ
- เนื่องจากกลืนลมเข้าไปในท้องมาก เช่น การดื่มน้ำไม่ใช้หลอด ทำให้ลมเข้าไปมาก เป็นต้น
- รับประทานอาหารที่สร้างแก็สมาก เช่น ถั่วลิสง มะม่วงดิบ หัวหอม ฝรั่ง กะหล่ำปลีดิบ กระถิน ชะอม เป็นต้น เนื่องจากอาหารเหล่านี้ถูกดูดซึมไม่หมดในลำไส้เล็ก ทำให้อาหารเหลือไปยังลำไส้ใหญ่ เกิดการหมัก ทำให้เกิดแก๊ส
- อาหารที่มีใยอาหารมาก เช่น เมล็ดธัญพืช ข้าวโอ๊ต ผักและผลไม้ เป็นต้น ทำให้เกิดอาการท้องอืด แต่หลังจาก 3 สัปดาห์ จะปรับตัวได้ แต่บางคนอาการท้องอืดและมีแก๊ส จะเป็นตลอด
- การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ทำให้การย่อยเป็นไปได้ยาก การเคลื่อนตัวของอาหารช้ากว่าปกติ
- บางคนขาดเอนไซม์ในการย่อยนม เมื่อดื่มนมจะทำให้ท้องอืด ลองงดนม อาการท้องอืดจะดีขึ้น
- การกลืนอาหารเร็วไป ไม่เคี้ยวอาหารให้ละเอียด
- การใส่ฟันปลอมที่ไม่พอดี
- เครื่องดื่มอัดลม
- ผู้ที่มีความเครียด
เมื่อมีแก๊สมากจะทำให้เรอบ่อย สาเหตุของการเรอบ่อยเพราะมีการไหลย้อนของกรดจากกระเพาะอาหารไปยังหลอดอาหาร ปกติกระเพาะอาหารซึ่งมีหูรูดจะทำหน้าที่กั้นไม่ให้กรดและอาหารไหลย้อนไปยังหลอดอาหาร เมื่อใดก็ตามที่มีปัจจัยส่งเสริมทำให้หูรูดหย่อน กรดและอาหารจะไหลย้อนไปยังหลอดอาหาร ทำให้ต้องกลืนบ่อย ลมจึงเข้าไปมาก
บางคนพยายามที่จะเรอเอาลมออก แต่การกระทำดังกล่าวกลับทำให้กลืนลมเพิ่มขึ้น ทำให้แน่นท้องเพิ่มขึ้น
การรักษา ให้ทานยาแก้ท้อง อืดเฟ้อ ได้แก่ ซิเมทธิโคน ผงถ่าน และยาช่วยย่อยอาหาร ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายยา ควรซื้อมาใช้เป็นครั้งคราวเท่านั้น ไม่ควรใช้เป็นประจำ และให้พยายามเคลื่อนไหวส่วนท้องด้วยการบริหารร่างกายที่ขยับตัว ส่วนเอว ท้อง เพื่อกระตุ้นลำไส้ให้เคลื่อนไหวเป็นประจำ ไม่รับประทานอาหารที่สร้างแก๊สมาก ไม่รับประทานอาหารครั้งคราวละมากๆ แต่หากเป็นท้องอืดประจำควรไปพบแพทย์