โรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นการเสื่อมของระบบความคิดความจำอย่างช้าๆ เชื่อว่าเกิดจากการที่ระบบประสาทส่วนกลางมีปริมาณของสารสื่อประสาทที่ชื่อว่าแอซีทิลโคลีน (Acetylcholine) ลดลง
มีการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ไม่เพียงแต่ขาดแอซีทิลโคลีน แต่ยังขาดเอนไซม์ที่ช่วยสร้างสารนี้ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า โคลีนแอซีทิลทรานส์เฟอเรสอีกด้วย การรับประทานโคลีนช่วยป้องกันไม่ให้แอซีทิลโคลีนถูกทำลาย ปัจจุบันมีการแนะนำให้รับประทานในรูปของฟอสฟาทิดิลโคลีน (Phosphatidylcholine) ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ของโคลีนที่มีประสิทธิภาพ
ยังไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับโรคนี้ แต่พบว่ายาบางกลุ่มอาจทำให้อาการของผู้ป่วยแย่ลงได้ ยกตัวอย่างเช่น ยานอนหลับอย่าง ฟลูราซีแพม (ดาลเมน) ยาสำหรับโรคหัวใจ และยาที่ใช้ในการรักษาอาการปวดเกร็งในลำไส้