"คุณทราบหรือไม่ว่า ในปีหนึ่งๆ มีผู้เสียชีวิตจากโรคกระดูกพรุนมากถึง 15-20%" ประมาณการณ์กันว่า 40%
ของผู้หญิงและ 13% ของผู้ชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป จะมีปัญหากระดูกผุและกระดูกหัก โดยเฉพาะกระดูกบริเวณข้อมือ สะโพก และกระดูกสันหลัง
ทำความรู้จักกับ..โรคกระดูกพรุน
การเกิดกระดูกพรุนจะไม่มีอาการแสดงในช่วงแรก จนกระทั่งกระดูกพรุนมากจึงจะเกิดอาการต่างๆ เช่น ปวดหลัง หลังโก่ง หลังค่อม ตัวเตี้ยลง กล้ามเนื้อลีบลง กระดูกแขนขาเปราะและหัก ทำให้เกิดการพิการเดินไม่ได้ หากกระดูกหักอาจทำให้ผู้ป่วยช่วยตัวเองหรือเดินด้วยตัวเองไม่ได้ และอาจมีอาการแทรกซ้อนจากกระดูกหัก เช่น ปอดบวม แผลกดทับ ติดเชื้อ หรือรุนแรงถึงเสียชีวิต
ดังนั้น การป้องกันและดูแลรักษาไม่ให้กระดูกเสื่อมคุณภาพ จึงถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
คุณภาพของกระดูกถือเป็นตัวกำหนดความแข็งแรงของกระดูก โดยคุณภาพของกระดูกนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วนหลักได้แก่
1. โครงสร้างภายในกระดูก
มีลักษณะเป็นแท่งและแผ่นกระดูกชิ้นเล็กๆ เชื่อมต่อกันทำให้มีลักษณะเหมือนรวงผึ้ง ซึ่งถ้าโครงสร้างภายในของกระดูกเสื่อมหรือถูกทำลายโดยสาเหตุสำคัญมาจากการได้รับสารอาหารสำหรับกระดูกไม่เพียงพอจะทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง อัตราเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักจะสูงขึ้น
2. การหมุนเวียนของกระดูก
เมื่ออายุเกิน 25 ปี การเสื่อมสลายของกระดูกจะมากกว่าการสร้างกระดูกขึ้นมาทดแทน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดภาวะโรคกระดูกพรุนตามมาได้ในอนาคต
"คุณทราบหรือไม่ว่า การรับประทานแคลเซียมแต่เพียงอย่างเดียวไม่สามารทำให้ร่างกายใช้ประโยชน์จากการเสริมแคลเซียมนั้นอย่างสูงสุด ทั้งนี้ เพราะร่างกายจำเป็นต้องใช้สารอาหารอื่นๆ เพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมและส่งเสริมการสร้างกระดูก"
สารอาหารที่จำเป็นต่อการเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง
แคลเซียมและฟอสฟอรัสในรูปของไตรแคลเซียมฟอสเฟต
แคเลเซียมเป็นแร่ธาตุสำคัญในการเสริมสร้างคุณภาพของกระดูกให้แข็งแรงมากขึ้น แต่แคลเซียมอย่างเดียวไม่่ใช่คำตอบทั้งหมดของการมีกระดูกที่แข็งแรง เพราะฟอสฟอรัสที่อยู่ในรูปของไตรแคลเซียมฟอสเฟตเป็นแร่ธาตุอีกหนึ่งตัวที่เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยในการรักษาสมดุลของระดับแคลเซียมในร่างกาย
แมกนีเซียม
ร่างกายควรได้รับแมกนีเซียมต่อแคลเซียมในอัตราส่วน 1:2 จึงจะได้ผลดีที่สุดในการเสริมสร้างกระดูก
วิตามินดี
ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัส มีความสำคัญในการสร้างกระดูกและฟัน ควบคุมปริมาณของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในกระแสโลหิตไม่ให้ต่ำลงจนถึงขีดอันตราย
วิตามินเค
ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและกระบวนการเมตาบอลิซึมแคลเซียม จำเป็นต่อขบวนการสร้างกระดูกให้แข็งแรง
สังกะสี
ส่งเสริมขบวนการสร้างคอลลาเจน เนื้อเยื่อสำคัญในการเริ่มต้นสร้างกระดูกการรวมกันของกระดูกที่หัก รักษาบาดแผล และป้องกันกระดูกพรุน
ทองแดง
ส่งเสริมการสร้างกระดูก และทำงานร่วมกับสังกะสีเพื่อเสริมการดูดซึมแคลเซียม นอกจากนี้ ทองแดงยัง ช่วยเสริมการทำงานของระบบสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย จำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดและกระดูก ระบบประสาท การเติบโตของเส้นผม เม็ดสีบนผิวหนัง รวมทั้งการทำงานของหัวใจ
ซิลิคอน
เป็นแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบอยู่ในไขกระดูกที่เรียกว่ากรดออร์โธซิลิซิค (Orthosilicic acid) ซึ่งมีส่วนสำคัญช่วยในการรักษามวลกระดูกไม่ให้เกิดการเสื่อมสลายไป (American Journal of Clinical Nutrition)
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแคลซิมอร์ ใน 1 เม็ดประกอบด้วย
แคลเซียม 125 มก.
แมกนีเซียม 62.5 มก.
วิตามินดี 50 หน่วยสากล
ทองแดง 0.225 มก
วิตามินเค 10 ไมโครกรัม
ซิลิคอน 2.5 มก.
สังกะสี 2 มก.
ปริมาณแคลเซียมที่แนะนำให้รับประทานต่อวันนั้นจะแต่างกันไปตามช่วงอายุ ซึ่งเราสามารถจำแนกเป็นกลุ่มได้ดังต่อไปนี้
- เด็ก (6-10 ปี) ควรได้รับ 800 มิลลิกรัมต่อวัน
- วัยรุ่น (11-24 ปี) ควรได้รับ 1,200-1,500 มิลลิกรัมต่อวัน
- ผู้ใหญ่ (อายุตั้งแต่ 25 ปี ขึ้นไป) ควรได้รับ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
(ข้อมูลจากพ็อกเก็ต บุ๊ค "เสียดายถ้าไม่รู้จักอาหารเสริมก่อนแก่" ของ นายแพทย์กฤษฎา ศิรามพุช)
ประสบการณ์จริงจากผู้ที่มีการรับประทานแคลเซียมเพื่อเสริมอาหารอย่างสม่ำเสมอ
"ด้วยความที่ตัวเป็นเภสัชกร ทำให้ดิฉันทราบว่าผู้หญิงเรามักสูญเสียมวลกระดูกไปเมื่อถึงวัยทอง ดังนั้นการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแคลเซียมที่มีแร่ธาตุและวิตามินอื่นๆ ที่เป็นตัวช่วยในการดูดซึมแคลเซียมไปใช้อย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งที่ดิฉันมั่นใจว่าเป็นการทำให้ตัวเองได้รับสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อป้องกันการเกิดปัญหากระดูกพรุนในอนาคต"
ภญ. ศุภวรรณ ศิริพิชัยพรหม
"เดิมทีผลการตรวจจากโรงพยาบาลบ่งบอกว่าดิฉันเป็นโรคกระดูกพรุนแต่หลังจากที่ดิฉันตัดสินใจรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีทั้ง วิตามิน แคลเซียม และแร่ธาตุอื่นๆ ที่มีประโยชน์ต่อการดูดซึมแคลเซียม กลับทำให้มวลกระดูกของดิฉันกลับมาเกือบเป็นปกติแล้วค่ะ"
คุณวันทนีย์ ลอยประเสริฐ