ออพติมา โอเมก้า เป็นแหล่งสำคัญของกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่จำเป็นต่อร่างกาย ได้แก่ อีพีเอ และดีเอชเอ
ที่ได้จากปลาทะเลน้ำลึก 4 ชนิด ( ปลาแซลมอน, ปลาซาร์ดีน, ปลาแมคเคอเรล,ปลาแอนโชวี) ช่วยให้ร่างกายได้รับกรดไขมันจำเป็นโอเมก้า - 3 อย่างเพียงพอ นอกจากนี้ยังประกอบด้วยกระเทียมสกัด
ประโยชน์ต่อสุขภาพ : เสริมกรดไขมันจำเป็นโอเมก้า - 3 เพื่อให้ร่างกายได้รับกรดไขมันโอเมก้า-3อย่างเพียงพอและสมดุล
ส่วนประกอบสำคัญ
- น้ำมันปลา ( อีพีเอ 150 มิลลิกรัม,ดีเอชเอ 100 มิลลิกรัม)
- กระเทียมสกัด
- วิตามิน อี
การรับประทาน : ครั้งละ 1 - 2 แคปซูล พร้อมอาหาร เช้า เย็น
Clinical Study
ผลการศึกษาทางวิทยาศาตร์ของกรดไขมันโอเมก้า-3
การศึกษาที่ 1 ผลของ Neptune Krill Oil กับการรักษาระดับไขมันในเลือด
วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินผลที่ได้รับจากการรับประทานน้ำมันคริลล์กับไขมันในกระแสเลือด โดยเฉพาะระดับของไตรกลีเซอไรด์ คอเลสเทอรอล ไขมันแอลดีแอล ไขมันเอชดีแอล
วิธีการศึกษา : ทำการศึกษาเป็นเวลา 3 เดือน ผู้เข้ารับการทดลองมีอายุระหว่าง 25-75 ปี และต้องมีระดับของคอเลสเทอรอลอยู่ในช่วง 194-348 มิลลิกรัม/เดชิลิตร จำนวน 120 คน แบ่งกลุ่มออกทั้งหมด 4 กลุ่ม
- กลุ่ม A น้ำมันคริลล์ (2-3 กรัม/วัน)
ดัชนีมวลกาย (BMI) <30 ได้รับน้ำมันคริลล์ 2 กรัม/วัน
ดัชนีมวลกาย (BMI) >30 ได้รับน้ำมันคริลล์ 3 กรัม/วัน - กลุ่ม B น้ำมันคริลล์ (1-1.5 กรัม/วัน)
ดัชนีมวลกาย (BMI) <30 ได้รับน้ำมันคริลล์ 1 กรัม/วัน
ดัชนีมวลกาย (BMI) >30 ได้รับน้ำมันคริลล์ 1.5 กรัม/วัน - กลุ่ม C น้ำมันปลา (3:2)
ซึ่งประกอบด้วยอีพีเอจำนวน 180 มิลลิกรัม และดีเอชเอ 120 มิลลิกรัม/กรัม จำนวน 3 กรัม/วัน - กลุ่ม D ยาหลอก (3 กรัม/วัน)
สรุปผลการทดลอง : จากผลการทดลองทางคลินิกแสดงให้เห็นว่าการได้รับปริมาณของน้ำมันคริลล์ขนาดตั้งแต่ 1-3 กรัม/วันนั้น จะมีประสิทธิภาพในการควบคุมระดับของไขมันชนิดต่างๆ ในกระแสเลือดได้มากกว่าการรับประทานน้ำมันปลา 3 กรัม แต่เพียงอย่างเดียว และยิ่งไปกว่านั้นการได้รับน้ำมันคริลล์ขนาด 500 มิลลิกรัม/วัน สามารถรักษาระดับของไขมันในกระแสเลือดให้อยู่ในระดับปกติในระยะยาวได้ เนื่องจากน้ำมันคริลล์ประกอบด้วยฟอสโฟลิปิด กรดไขมันโอเมก้า-3 และสารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูง ซึ่งสารประกอบเหล่านั้นสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้
การศึกษาที่ 2 ผลของกรดไขมันโอเมก้า-3 กับรังสียูวี ที่มีผลต่อความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งในมนุษย์
วัตถุประสงค์ : หลายการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่ากรดไขมันโอเมก้า-9 มีความสามารถในการป้องกันการเกิดมะเร็งที่ผิวหนังอันมีสาเหตุมาจากแสงแดด แต่ผลลัพธ์ดังกล่าวยังไม่เป็นที่ยอมรับมากนักในมนุษย์ ดังนั้น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกรดไขมันโอเมก้า-3 และการปกป้องดีเอ็นเอจากแสงยูวี
วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาแบบสุ่มและผู้เข้ารับการทดลองไม่รู้ว่ากำลังใช้ผลิตภัณฑ์ชนิดใดอยู่ ทดลองกับอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี และไม่สูบบุหรี่จำนวน 42 ราย อายุโดยเฉลี่ย 44 ปี (ช่วงอายุ 21-65 ปี) อีกทั้งต้องเป็นผู้ที่ไม่แพ้แสงแดดและไม่เคยอาบแดดมาก่อนเป็นระยะเวลา 6 เดือน ให้รับประทานกรดไขมันโอเมก้า-3 (อีพีเอ) หรือกรดไขมันโอเลอิก วันละ 4 กรัม เป็นระยะเวลา 3 เดือน หลังจากนั้นตรวจวัดผลลัพธ์จากเซลล์เนื้อเยื่อและการเจาะเลือด
การวัดผล :
- การทดสอบด้วยรังสี : ใช้แสงจากหลอดไฟฟลูโอเรสเซนท์ที่มีช่วงความยาวคลื่นที่ 270-400 นาโนเมตร เป็นแหล่งของรังสียูวีกับผู้ทดสอบก่อนและหลังการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร การทดสอบจะทำโดยการฉายแสงไปบริเวณสะโพกส่วนบน หลังจากนั้น 24 ชั่วโมง นำเอาเนื้อเยื่อบริเวณดังกล่าวไปทำการตรวจวัดหาค่า P53 (ค่าทางชีววิทยาที่แสดงถึงความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งหากพบมาก) และค่า MED (ปริมาณของรังสีที่น้อยที่สุดที่ก่อให้เกิดผื่นแดงที่ผิวหนัุง)
- การเจาะเลือด : เพื่อทดสอบปริมาณของกรดไขมันโอเมก้า-3 ก่อนและหลังการทดลอง
สรุปผลการทดลอง : จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ากรดไขมันโอเมก้า-3 (อีพีเอ) สามารถปกป้องรังสียูวีที่ก่อให้เกิดผื่นแดงบนผิวหนังในมนุษย์ได้ ไม่เพียงแต่อีพีเอจะปกป้องเรื่องของการเผาไหม้จากแสงแดด อีพีเอยังช่วยลดค่า P53 ค่าทางชีววิทยาที่แสดงถึงเซลล์ที่ถูกทำลายและอาจก่อให้เกิดมะเร็งโดยแสงแดดได้
การศึกษาที่ 3 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันปลา และน้ำมันมะกอกกับผู้ป่วยที่เป็นโรคไขข้ออักเสบ
วัตถุประสงค์ : การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงผลของการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันปลาและน้ำมันมะกอกว่ามีผลต่ออาการของโรคไขข้ออักเสบอย่างไร
วิธีการศึกษา : ทำการทดลองกับผู้ป่วยที่มีอาการของโรคไขข้ออักเสบ (rheumatoid arthrittis) จำนวน 49 ราย ทำการทดลองเป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 24 สัปดาห์ ทำการทดลองแบบสุ่ม โดยแบ่งกลุ่มการทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม โดยคำนึงถึงเรื่องอายุ เพศ ความรุนแรงของโรค และยาที่ใช้รักษา โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้
- กลุ่มที่ 1 : Low Dose จำนวน 20 คน รับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่มีอัตราส่วนของอีพีเอ:ดีเอชเอ เท่ากับ 27:18 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (Low Dose)
- กลุ่มที่ 2 : High Dose จำนวน 17 คน รับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่มีอัตราส่วนของอีพีเอ:ดีเอชเอ เท่ากับ 54:36 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (High Dose)
- กลุ่มที่ 3 : จำนวน 12 คน รับประทานน้ำมันมะกอกที่ประกอบด้วยกรดโอเลอิก 6.8 กรัม
วัดผลการทดลองทั้ง 3 กลุ่มในวันเริ่มและทุกๆ 6 สัปดาห์ โดยวัดถึงลักษณะของอาการเวลาเคลื่อนที่ อาการบวมของข้อต่อ ลิวโคไตรอีน บี4* (Leukotriene B4) และอินเตอลิวคิน-1*(Interleukin-1) *ลิวโคไตรอีน บี 4 และอินเตอลิวคิน-1 เป็นสารสำคัญที่เป็นตัวก่อให้เกิดอาการอักเสบ
ผลการทดลอง :
- ในกลุ่ม Low Dose มีลักษระอาการดีขึ้นในสัปดาห์ที่ 24
- ในกลุ่ม High Dose มีลักษณะอาการดีขึ้นในสัปดาห์ที่ 18 และ 24
- อาการบวมบริเวณข้อลดลงตั้งแต่สัปดาห์ที่ 12 ทั้งในกลุ่ม Low Dose และ High Dose
- ในกลุ่ม Low Dose ปริมาณของลิวโคไตรอีน บี4 ลดลง 19%
- ในกลุ่ม High Dose ปริมาณของลิวโคไตรอีน บี4 ลดลง 20%
- ปริมาณการผลิต อินเตอลิวคิน-1 ลดลง
- น้ำมันมะกอก ลดลง 38.5%
- กลุ่ม Low Dose ลดลง 40.6%
- กลุ่ม High Dose ลดลง 54.7%
สรุปผลการทดลอง : จากการทดลองสามารถสรุปได้ว่าในกลุ่มที่รับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่มีอัตราส่วนของ อีพีเอ:ดีเอชเอ เท่ากับ 54:36 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (High Dose) จะมีอาการเจ็บปวดและอาการบวมเนื่องมาจากไขข้ออักเสบน้อยลงตั้งแต่ในสัปดาห์ที่ 12 รวมถึงปริมาณการผลิตสารที่ก่อให้เกิดอาการอักเสบ ได้แก่ ลิวโคไตรอีน บี4 และอินเตอลิวคิน-1 ก็มีปริมาณน้อยลงด้วย
การศึกษาที่ 4 การบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโอเมก้า-3 ของหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ และให้นมบุตร กับพัฒนาการความสามารถทางด้านไอคิว (IQ) ของเด็กในช่วงอายุ 4 ปี
จากการศึกษาหลายการศึกษาพบว่า กรดไขมันโอเมก้า-3 มีความสำคัญต่อพัฒนาการทางด้านสมองของสัตว์เลือดอุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนการคลอดและประมาณเดือนแรกของการให้นมบุตร
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบถึงผลของการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกรดไขมันโอเมก้า-3 และกรดไขมันโอเมก้า-6 ในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตรกับพัฒนาการทางสมองของเด็ก
ลักษณะการศึกษา : เป็นลักษณะการศึกษาแบบสุ่มและผู้เข้ารับการทดลองไม่ทราบว่ารับประทานผลิตภัณฑ์ชนิดใด ผู้เข้าร่วมการศึกษาเป็นหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ โดยผู้ที่เข้าร่วมโปรแกรมต่อเนื่อง ตั้งแต่ตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอดบุตรจำนวน 341 คนและเมื่อเด็กกลุ่มนี้อายุ 4 ขวบ จะมีการทดสอบที่เรียกว่า K-ABC (Kaufman Assessment Battery for Children) ซึ่งเป็นกรทดสอบเพื่อวัดลักษณะทางความคิด เชาว์ปัญญา และไหวพริบของเด็กในช่วงอายุ 2.5-12.5 ปี โดยในการทดลองนี้มีเด็กจำนวน 90 รายที่ทำการทดสอบโดย แบ่งหญิงตั้งครรภ์ออกเป็น 2 กลุ่ม และให้รับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในช่วง 3 เดือนก่อนการคลอดบุตรคนละชนิดคือ
- กลุ่มที่ 1 กรดไขมันโอเมก้า-3 : จากปลาคอด (ดีเอชเอ 1,183 มก. และอีพีเอ 803 มก.)
- กลุ่มที่ 2 กรดไขมันโอเมก้า-6 : จากน้ำมันข้าวโพด (กรดไลโนเลอิก 4,747 มก. และ แอลฟา-ไลโนเลนิก 92 มก.)
ผลการศึกษา : การทดสอบในเด็กอายุ 4 ขวบ ที่เกิดจากมารดาที่รับประทานกรดไขมันโอเมก้า-3 (N=48) ในช่วงของการตั้งครรภ์และให้นมบุตร จะมีคะแนนในการทดสอบ K-ABC ที่สูงกว่าในมารดาที่รับประทานกรดไขมันโอเมก้า-6 (N=36) ดังแสดงในกราฟที่ 1
สรุปผลการทดลอง : มารดาที่รับประทานกรดไขมันโอเมก้า-3 ในช่วงการตั้งครรภ์และให้นมบุตร น่าจะทำให้พัฒนาการทางด้านสมองและจิตใจดีกว่าเด็กอื่นๆ ที่ไม่ได้รับประทาน
หมายเหตุ :
- MPCOMP (Mental Processing Composite) : การทดสอบในเรื่องของปัญญา เชาว์ และไหวพริบ
- SEQPROC (Sequential Processing) : การทดสอบในเรื่องของกระบวนการจัดลำดับทางด้านความคิด
- SIMPROC (Simultaneous Processing) : การทดสอบการจัดการกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลายอย่างในเวลาเดียวกัน
- NONVERB (Nonverbal abilities) : ความสามารถในเรื่องของการสื่อสารโดยไม่มีการพูด