กิจกรรมตรวจสุขภาพ ณ อาคารจามจุรี สแควร์
- วัดระดับสารต้านอนุมูลอิสระ
- วิเคราะห์สุขภาพจากเม็ดเลือด
- วิเคราะห์ร่างกายภายใน
- ค่าระดับน้ำตาลในเลือด
- ค่าความดันโลหิต
- ความหนาแน่นของกระดูก
- วิเคราะห์สภาพผิวหน้า
- วัดความยืดหยุ่นและอายุผิว
ตรวจสุขภาพทุกวันจันทร์ - เสาร์ เวลา 12.00 - 20.00 น. ณ จามจุรีสแควร์ ตรงข้ามวัดหัวลำโพง ติดต่อได้ที่ 081-845-3115 (วิวรรธน์ชัย สิทธิวงศ์) หมายเหตุ : ท่านสามารถเลือกตรวจเฉพาะอย่างได้ตามต้องการ
วัดระดับสารต้านอนุมูลอิสระ
หากคุณเคยมีอาการเหล่านี้นั่นหมายถึงร่างกายคุณอาจกำลังถูกอนุมูลอิสระทำลาย
- ป่วยบ่อย ติดเชื้อง่ายกว่าปกติ หรือเกิดอาการภูมิแพ้บ่อย
- รู้สึกเฉื่อยชา อ่อนเพลีย สมองไม่ฉับไว
- ตื่นนอนพร้อมอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
- ผิวพรรณหมองคล้ำ ไม่สดใสเท่าที่ควร
อนุมูลอิสระ คือโมเลกุลตัวร้ายที่มีอยู่รอบตัวเรา ซึ่งอนุมูลอิสระที่ว่านี้ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรง โดยภาพประกอบด้านล่างนี้เป็นการชี้วัดค่าระดับสารต้านอนุมูลอิสระภายในร่างกายเรา (ไม่ใช่ค่าอนุมูลอิสระ แต่หมายถึงสารที่ต้านอนุมูลอิสระ) หากค่านี้มีมากก็หมายถึงอัตราการเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงนั้นน้อยมาก ในทางตรงกันข้าม หากค่าระดับสารต้านอนุมูลอิสระน้อย นั่นก็หมายถึงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงนั้นสูง
ค่าสารต้านอนุมูลอิสระที่วัดได้หมายความว่าอย่างไร?
- ค่าต่ำกว่า 29,000 หมายถึงค่าสารต้านอนุมูลอิสระอยู่ในระดับต่ำ
- รับประทานผัก ผลไม้น้อยหรือไม่หลากหลาย
- ต้องเผชิญกับอนุมูลอิสระ เช่น ควันบุหรี่ แสงแดด มลภาวะ ความเครียด
- มีน้ำหนักเกินหรือไขมันส่วนเกิน
- เสริมอาหารไม่สม่ำเสมอหรือไม่ได้เสริมอาหาร
- ค่าอยู่ระหว่าง 30,000 - 49,000 หมายถึงค่าสารต้านอนุมูลอิสระอยู่ในระดับปานกลาง
- รับประทานผัก ผลไม้ไม่เพียงพอหรือไม่หลากหลายพอ
- ต้องเผชิญกับอนุมูลอิสระ เช่น ควันบุหรี่ แสงแดด มลภาวะ ความเครียด
- มีไขมันส่วนเกินในร่างกาย
- เสริมอาหารไม่สม่ำเสมอ
- ค่าตั้งแต่ 50,000 ขึ้นไปหมายถึงค่าสารต้านอนุมูลอิสระอยู่ในระดับเพียงพอ
- รับประทานผัก ผลไม้เพียงพอ
- หลีกเลี่ยงแหล่งอนุมูลอิสระได้ดี
- ดูแลน้ำหนักและรูปร่างได้ดี
- เสริมอาหารอย่างสม่ำเสมอ
การดูแลสุขภาพเพื่อเพิ่มระดับสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย
- รับประทานผัก ผลไม้ให้หลากหลายสีสันอย่างน้อย 5 ฝ่ามือทุกวัน หลีกเลี่ยงของมัน ของทอด ของหมักดอง เค็มจัด หวานจัด
- เสริมวิตามิน เกลือแร่ และสารสกัดจากผักผลไม้ หรือ เครื่องดื่มสุดยอดผลไม้เข้มข้น เป็นประจำ สม่ำเสมอ
- ดูแลรูปร่าง ควบคุมน้ำหนัก ขจัดไขมันส่วนเกิน
- จัดการความเครียด หลีกเลี่ยงแหล่งอนุมูลอิสระ เช่น มลภาวะ ควันบุหรี่ แสงแดด
วิเคราะห์สุขภาพจากเม็ดเลือด
วิเคราะห์องค์ประกอบภายในร่างกาย
- มวลไขมันในร่างกาย (Fat Mass): ปริมาณไขมันที่สะสมตามร่างกาย (กิโลกรัม) การลดน้ำหนักที่ถูกต้อง มวลไขมันจะต้องลดลงในสัดส่วนที่มากกว่ามวลกล้ามเนื้อ
- น้ำหนักของร่างกายส่วนที่ไร้ไขมัน (Free Fat Mass: FFM): ผลรวมของมวลกล้ามเนื้อ มวลกระดูกและน้ำ (กิโลกรัม)
- มวลกล้ามเนื้อ (Muscle Mass): น้ำหนักของกล้ามเนื้อในร่างกาย (กิโลกรัม) การสูญเสียกล้ามเนื้อ 1 ปอนด์ (ประมาณครึ่งกิโลกรัม) จะทำให้การเผาผลาญลดลงประมาณ 50 แคลอรี่
- น้ำหนักของน้ำในร่างกาย (Total Body Water: TBW): ปริมาณน้ำในร่างกาย โดยแสดงในหน่วยกิโลกรัม
- เปอร์เซ็นต์น้ำในร่างกาย (Total Body Water %: TBW %): สัดส่วนของน้ำในร่างกายเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวทั้งหมด โดยน้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญของเซลล์และสำคัญต่อขบวนการต่างๆ ในร่างกาย เราควรดูแลให้ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่แนะนำ (เมื่อเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้น เปอร์เซ็นต์น้ำมีแนวโน้มลดลง บางครั้งหากน้อยมากอาจไม่แสดงผล)
- มวลกระดูก (ฺBone Mass): น้ำหนักของกระดูกในร่างกาย (กิโลกรัม) โดยค่ามาตรฐานของคนทั่วไปดังแสดงในตาราง
- อัตราการเผาผลาญขั้นพื้นฐาน (Basal Metabolic Rate: BMR): เป็นค่าการใช้พลังงานพื้นฐานของร่างกาย เช่น การหายใจ การไหลเวียนเลือด เป็นต้น ไม่รวมพลังงานที่ใช้อื่นๆ เช่นเดิน วิ่ง ดังนั้นการลดอาหารเพื่อลดปริมาณแคลอรี่ที่รับประทานต่อวันควรลดลงไม่เกิน 20-25% ของค่า BMR
- อายุเทียบกับอัตราการเผาผลาญ (Metabolic Age): เป็นค่าที่แสดงว่าอัตราการเผาพลาญปัจจุบันและมวลกล้ามเนื้อที่วัดได้เทียบเท่ากับอายุเท่าใด ซึ่งถ้าค่าอายุมากกว่าอายุจริง หมายความว่าการเผาผลาญและมวลกล้ามเนื้อของร่าง กายนั้นน้อยเกินไป ต้องดูแลเพื่อให้การเผาผลาญดีขึ้นโดยการออกกำลังกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ
- ระดับไขมันที่เกาะตามอวัยวะภายในช่องท้อง (Visceral Fat rating): ไขมันที่สะสมตามอวัยวะภายในช่องท้องหากมีมากจะมีผลเพิ่มความเสี่ยงโรคเรื้อรัง แนะนำให้ดูแลให้อยู่ในระดับปกติ สำหรับผู้ที่ต้องการดูแลรูปร่างแนะนำให้ดูแลระดับไขมันสะสมที่หน้าท้อง โดย หญิง แนะนำไม่เกิน 3 ชาย แนะนำไม่เกิน 5
- ดัชนีมวลกาย (ฺBMI): เป็นค่าที่คำนวณได้จาก น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หาร (ส่วนสูง) ยกกำลัง 2 ค่า BMI มาตรฐาน = 22 หากสูงกว่านี้มีโอกาสเกิดปัญหาน้ำหนักตัว แต่อย่างไรก็ตามแนะนำให้ตรวจสอบเปอร์เซ็นต์ไขมันที่วัดได้ เพื่อการประเมินปัญหารูปร่างที่ถูกต้องมากขึ้น
- น้ำหนักตัวที่เหมาะสม (Ideal Body Weight): ค่าที่ได้จากการคำนวณ เพื่อให้ได้น้ำหนักตัวที่เหมาะสมเมื่อเทียบกับส่วนสูง ตามมาตรฐานค่า BMI
- ระดับความอ้วน (Degree of Obesity): ค่าที่คำนวณจาก (น้ำหนักตัว - น้ำหนักตัวที่เหมาะสม) ส่วนน้ำหนักตัวที่เหมาะสมแล้ว x100
- ระดับไขมันที่เหมาะสม (Desirable Range): ค่าเปอร์เซ็นต์ไขมันและมวลไขมัน (กิโลกรัม) ที่เหมาะสมตามช่วงอายุและเพศ
- เกณฑ์ชี้วัด (Indicator): การแปลผลแต่ละค่าเมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน
(-): ต่ำกว่าเกณฑ์
(0): ปกติ
(+): สูงกว่าเกณฑ์
(++): สูงกว่าเกณฑ์มาก
ค่าระดับน้ำตาลในเลือด
ค่าความดันโลหิต
ความหนาแน่นของกระดูก
มีผู้เสียชีวิตจากโรคกระดูกพรุนถึงร้อยละ 15-20 อย่าเป็นเหยื่อของโรคกระดูกพรุน หมั่นตรวจความหนาแน่นของกระดูก (อย่างน้อยทุก 3 เดือน) เพื่อหาทางป้องกันตนเองกันแต่เนิ่นๆ ค่าความหนาแน่นของกระดูก (Bone Mass Density / Bone Mineral Density, BMD) เป็นค่าแสดงความหนาแน่นของกระดูก (หน่วยเป็นกรัม/ตารางเซ็นติเมตร) ซึ่งถือเป็นค่าที่แสดงถึงคุณภาพของกระดูกได้ดีที่สุด หากกระดูกมีเกลือแร่สะสมไว้มาก ความหนาแน่นของกระดูกสูง ค่าที่วัดได้จะสูงตามไปด้วย
ที-สกอร์ (T-Score)
องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้ใช้ค่า ที-สกอร์ เพื่อวิเคราะห์ว่าค่าความหนาแน่นขอบงกระดูกปกติว่าเริ่มบางหรือพรุน ค่าที-สกอร์ได้จากความหนาแน่นกระดูกของผู้ถูกวัดเทียบกับค่าเฉลี่ยของความหนาแน่นของกระดูกของประชากรวัยหนุ่มสาว เพศเดียวกัน
ทำไมต้องรอให้กระดูกเสื่อมก่อนแล้วค่อยหาทางเียียวยา เพราะนั่นอาจหมายถึงคำว่า "สายเกินไป" คุณภาพของกระดูกถือเป็นตัวกำหนดความแข็งแรงของกระดูก โดยคุณสามารถเพิ่มคุณภาพของกระดูกได้ด้วยการเสริมเเคลเซียมอย่างเพียงพอและถูกวิธีให้กับร่างกาย แต่คุณเคยทราบหรือไม่ว่าการรับประทานเเคลเซียมแต่เพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้ร่างกายใช้ประโยชน์จากการเสริมแคลเซียมนั้นอย่างเต็มประสิทธิภาพที่เป็นเช่นนี้ เพราะร่างกายจำเป็นต้องใช้แร่ธาตุอื่นๆ เป็นองค์ประกอบเพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมไปใช้ได้อย่างสูงสุด ซึ่งตามปกติแล้วร่างกายจะสามารถดูดซึมแคลเซียมไปใช้แค่ครั้งละไม่เกิน 500 มิลลิกรัมเท่านั้น ดังนั้น การรับประทานแคลเซียมในปริมาณที่สูงเกินไปในแต่ละครั้งกลับทำให้เป็นการสูญเสียโดยใช่เหตุ
วิเคราะห์สภาพผิวหน้า
- จุดด่างดำ (Spots): จุดเล็กๆ บนผิวที่มีสีแตกต่างจากผิวบริเวณอื่น เช่น จุดด่างดำ, กระ, ฝ้า หรือรอยแผลเป็นที่เกิดจากสิว
- การถูกทำร้ายโดยรังสียูวี (UV Spots): ผิวโดนทำร้ายจากรังสียูวี และแสงแดด ทำให้ผิวเกิดเป็นจุดด่างดำ (ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า)
- เม็ดสีเมลานิน (Brown Spots): ความเสื่อมและความผิดปกติของการสร้างเม็ดสี จากอายุ ฮอร์โมน ความเครียดและปัจจัยอื่นๆ (รวมถึงจุดที่มองเห็นและไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า)
- รอยเส้นเลือดแดง (Red Area): รอยเส้นเลือดแดง ที่เกิดจากการไหลเวียนโลหิตที่ไม่ดีพอ และร่องรอยที่เกิดจากการบีบสิว
- ริ้วรอย (Wrinkles): เส้นริ้วบนใบหน้าที่เกิดจากอายุที่มากขึ้น และพฤติกรรมการแสดงออกทางสีหน้า
- ความเรียบเนียนของผิว (Texture): แสดงถึงผิวที่ไม่เรียบเนียน เช่น ผิวที่เป็นผดผื่น ลอกเป็นขุย หรือเป็นรอยหลุมสิว เป็นต้น
- รูขุมขน (Pores): ปริมาณรูขุมขนเปิดกว้าง
- แบคทีเรีย (Porphyrins): สารที่แบคทีเรียสร้างขึ้นจากการย่อยสลายไขมันในรูขุมขน