ความหนาแน่นของกระดูก
มีผู้เสียชีวิตจากโรคกระดูกพรุนถึงร้อยละ 15-20 อย่าเป็นเหยื่อของโรคกระดูกพรุน หมั่นตรวจความหนาแน่นของกระดูก (อย่างน้อยทุก 3 เดือน) เพื่อหาทางป้องกันตนเองกันแต่เนิ่นๆ ค่าความหนาแน่นของกระดูก (Bone Mass Density / Bone Mineral Density, BMD) เป็นค่าแสดงความหนาแน่นของกระดูก (หน่วยเป็นกรัม/ตารางเซ็นติเมตร) ซึ่งถือเป็นค่าที่แสดงถึงคุณภาพของกระดูกได้ดีที่สุด หากกระดูกมีเกลือแร่สะสมไว้มาก ความหนาแน่นของกระดูกสูง ค่าที่วัดได้จะสูงตามไปด้วย
ที-สกอร์ (T-Score)
องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้ใช้ค่า ที-สกอร์ เพื่อวิเคราะห์ว่าค่าความหนาแน่นขอบงกระดูกปกติว่าเริ่มบางหรือพรุน ค่าที-สกอร์ได้จากความหนาแน่นกระดูกของผู้ถูกวัดเทียบกับค่าเฉลี่ยของความหนาแน่นของกระดูกของประชากรวัยหนุ่มสาว เพศเดียวกัน
ทำไมต้องรอให้กระดูกเสื่อมก่อนแล้วค่อยหาทางเียียวยา เพราะนั่นอาจหมายถึงคำว่า "สายเกินไป" คุณภาพของกระดูกถือเป็นตัวกำหนดความแข็งแรงของกระดูก โดยคุณสามารถเพิ่มคุณภาพของกระดูกได้ด้วยการเสริมเเคลเซียมอย่างเพียงพอและถูกวิธีให้กับร่างกาย แต่คุณเคยทราบหรือไม่ว่าการรับประทานเเคลเซียมแต่เพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้ร่างกายใช้ประโยชน์จากการเสริมแคลเซียมนั้นอย่างเต็มประสิทธิภาพที่เป็นเช่นนี้ เพราะร่างกายจำเป็นต้องใช้แร่ธาตุอื่นๆ เป็นองค์ประกอบเพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมไปใช้ได้อย่างสูงสุด ซึ่งตามปกติแล้วร่างกายจะสามารถดูดซึมแคลเซียมไปใช้แค่ครั้งละไม่เกิน 500 มิลลิกรัมเท่านั้น ดังนั้น การรับประทานแคลเซียมในปริมาณที่สูงเกินไปในแต่ละครั้งกลับทำให้เป็นการสูญเสียโดยใช่เหตุ