•  

DooHealthy

RSSเว็บไซต์นี้ให้ข้อมูลความรู้และคำปรึกษาปัญหาสุขภาพต่างๆ เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง

โปรแกรมตรวจสุขภาพ - วิเคราะห์ร่างกายภายใน

ดัชนีบทความ
โปรแกรมตรวจสุขภาพ
วัดระดับสารต้านอนุมูลอิสระ
วิเคราะห์สุขภาพจากเม็ดเลือด
วิเคราะห์ร่างกายภายใน
ค่าระดับน้ำตาลในเลือด
ค่าความดันโลหิต
ความหนาแน่นของกระดูก
วิเคราะห์สภาพผิวหน้า
วัดความยืดหยุ่นและอายุผิว
ทุกหน้า

วิเคราะห์องค์ประกอบภายในร่างกาย

  • มวลไขมันในร่างกาย (Fat Mass): ปริมาณไขมันที่สะสมตามร่างกาย (กิโลกรัม) การลดน้ำหนักที่ถูกต้อง มวลไขมันจะต้องลดลงในสัดส่วนที่มากกว่ามวลกล้ามเนื้อ
  • น้ำหนักของร่างกายส่วนที่ไร้ไขมัน (Free Fat Mass: FFM): ผลรวมของมวลกล้ามเนื้อ มวลกระดูกและน้ำ (กิโลกรัม)
  • มวลกล้ามเนื้อ (Muscle Mass): น้ำหนักของกล้ามเนื้อในร่างกาย (กิโลกรัม) การสูญเสียกล้ามเนื้อ 1 ปอนด์ (ประมาณครึ่งกิโลกรัม) จะทำให้การเผาผลาญลดลงประมาณ 50 แคลอรี่
  • น้ำหนักของน้ำในร่างกาย (Total Body Water: TBW): ปริมาณน้ำในร่างกาย โดยแสดงในหน่วยกิโลกรัม
  • เปอร์เซ็นต์น้ำในร่างกาย (Total Body Water %: TBW %): สัดส่วนของน้ำในร่างกายเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวทั้งหมด โดยน้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญของเซลล์และสำคัญต่อขบวนการต่างๆ ในร่างกาย เราควรดูแลให้ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่แนะนำ (เมื่อเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้น เปอร์เซ็นต์น้ำมีแนวโน้มลดลง บางครั้งหากน้อยมากอาจไม่แสดงผล)
  • มวลกระดูก (ฺBone Mass): น้ำหนักของกระดูกในร่างกาย (กิโลกรัม) โดยค่ามาตรฐานของคนทั่วไปดังแสดงในตาราง
  • อัตราการเผาผลาญขั้นพื้นฐาน (Basal Metabolic Rate: BMR): เป็นค่าการใช้พลังงานพื้นฐานของร่างกาย เช่น การหายใจ การไหลเวียนเลือด เป็นต้น ไม่รวมพลังงานที่ใช้อื่นๆ เช่นเดิน วิ่ง ดังนั้นการลดอาหารเพื่อลดปริมาณแคลอรี่ที่รับประทานต่อวันควรลดลงไม่เกิน 20-25% ของค่า BMR
  • อายุเทียบกับอัตราการเผาผลาญ (Metabolic Age): เป็นค่าที่แสดงว่าอัตราการเผาพลาญปัจจุบันและมวลกล้ามเนื้อที่วัดได้เทียบเท่ากับอายุเท่าใด ซึ่งถ้าค่าอายุมากกว่าอายุจริง หมายความว่าการเผาผลาญและมวลกล้ามเนื้อของร่าง กายนั้นน้อยเกินไป ต้องดูแลเพื่อให้การเผาผลาญดีขึ้นโดยการออกกำลังกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ
  • ระดับไขมันที่เกาะตามอวัยวะภายในช่องท้อง (Visceral Fat rating): ไขมันที่สะสมตามอวัยวะภายในช่องท้องหากมีมากจะมีผลเพิ่มความเสี่ยงโรคเรื้อรัง แนะนำให้ดูแลให้อยู่ในระดับปกติ สำหรับผู้ที่ต้องการดูแลรูปร่างแนะนำให้ดูแลระดับไขมันสะสมที่หน้าท้อง โดย หญิง แนะนำไม่เกิน 3 ชาย แนะนำไม่เกิน 5
  • ดัชนีมวลกาย (ฺBMI): เป็นค่าที่คำนวณได้จาก น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หาร (ส่วนสูง) ยกกำลัง 2 ค่า BMI มาตรฐาน = 22 หากสูงกว่านี้มีโอกาสเกิดปัญหาน้ำหนักตัว แต่อย่างไรก็ตามแนะนำให้ตรวจสอบเปอร์เซ็นต์ไขมันที่วัดได้ เพื่อการประเมินปัญหารูปร่างที่ถูกต้องมากขึ้น
  • น้ำหนักตัวที่เหมาะสม (Ideal Body Weight): ค่าที่ได้จากการคำนวณ เพื่อให้ได้น้ำหนักตัวที่เหมาะสมเมื่อเทียบกับส่วนสูง ตามมาตรฐานค่า BMI
  • ระดับความอ้วน (Degree of Obesity): ค่าที่คำนวณจาก (น้ำหนักตัว - น้ำหนักตัวที่เหมาะสม) ส่วนน้ำหนักตัวที่เหมาะสมแล้ว x100
  • ระดับไขมันที่เหมาะสม (Desirable Range): ค่าเปอร์เซ็นต์ไขมันและมวลไขมัน (กิโลกรัม) ที่เหมาะสมตามช่วงอายุและเพศ
  • เกณฑ์ชี้วัด (Indicator): การแปลผลแต่ละค่าเมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน

    ระดับความอ้วน

    (-): ต่ำกว่าเกณฑ์
    (0): ปกติ
    (+): สูงกว่าเกณฑ์
    (++): สูงกว่าเกณฑ์มาก

สัดส่วนของกล้ามเนื้อกับไขมัน



Julius

นาฬิกาดีไซน์ความหลากหลายให้เข้ากับสไตล์ของคุณ More...

G-SHOCK

ต้นแบบเฉพาะตัวกับตัวเครื่องคุณภาพความทนทาน More...

Edifice

Edifice นาฬิกาลูกผู้ชาย ทรงอิทธิพลด้วยดีไซน์ที่เร้าใจ More...

Consultant



↑ เพิ่มเพื่อนจากทาง Line เพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพต่างๆ ได้ที่นี่...

Latest Posts

Map

You are here: เกี่ยวกับเรา กิจกรรมตรวจสุขภาพฟรี